Thursday 26 March 2009

มาตรการสุขอนามัย

ความสำคัญ เนื่องจากการำธุรกิจอาหารเพื่อการส่งออกจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วการบังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัย ซึ่งตามข้อตกลงทางการค้าเรื่องสินค้าเกษตรได้ยอมรับให้สินค้าเกษตรต้องปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยมีวิตถุประสงค์ให้ประเทศต่างๆ ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยฯ ความตกลงนี้ได้อนุญาตให้ประเทศสมาชิกกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยที่จำเป็นเพื่อป้องกันสุขภาพขอมนุษย์ พืชและสัตว์ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติระหว่างประเทศสมาชิกที่ดำเนินการด้วยเงื่อนไขอย่างเดียวกัน รวมทั้งสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกใช้มาตรการสุขอนามันตามมาตรฐาน แนวทางและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่กำหนดโดยองค์การระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกยังสามารถกำหนดระดับการคุ้มครองสุขอนามัยที่สูงกว่ามาตาฐานสากลได้ หากมีเหตุผลและข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้มาสนับสนุน ความตกลงนี้ยังได้กำหนดกฎระเบียบและขอบเขตของความเสี่ยงที่ยอมรับได้และระดับความเหมาะสมในการคุ้มครองด้านสุขอนามัย ประเทศสมาชิกต้องยอมรับมาตรการด้านสุขอนามัยของประเทศสมาชิกอื่นๆ แม้ว่ามาตรการจะแตกต่างกัน ถ้าหากมาตรการนั้นมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสุขอนามัยในระดับที่เหมาะสมสำหรับประเทศผู้นำเข้าและสามารถที่จะตรวจสอบได้โดยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์

มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยในการผลิตสินค้าเกษตรในปัจจุบัน กฎระเบียบการนำเข้าที่แต่ละประเทศกำหนดไว้เกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

การนำเข้าผักสดจากต่างประเทศ ต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบการนำเข้าที่แต่ละประเทศกำหนดไว้เกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสุขอนามัยของประชาชนในประเทศและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ดังนี้

1) ประเทศไทย มีกฎหมายเกี่ยวกับการนำเข้าผักสด ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507 จนถึง 2537 พืชและผลผลิตของพืชทุกชนิดที่นำเข้ามาในประเทศจะต้องผ่านการตรวจโรคและแมลงศัตรูพืชจาก เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร สำหรับผักสามารถนำเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศต้นทาง และกรมวิชาการเกษตร สำหรับผักสามารถนำเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศต้นทางและกรมวิชาการเกษตรไม่ได้ตรวจสอบสารตกค้างที่ติดมากับผักด้วย

นอกจากนี้ผลไม้สามารถนำเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศต้นทาง และกรมวิชาการเกษตรไม่ได้ตรวจสอบสารตกค้างที่ติดมากับผลไม้ด้วย ยกเว้นพืชตระกูลส้มทุกชนิด เป็นสิ่งตองห้ามนำเข้ามาในประเทศในกรณีที่มีวัตถุประสงศ์ในการนำเข้ามาเพื่อการศึกษาวิจัยต้องทำหนังสือขออนุญาตจากอธิบดีกรมวิชาการเกษตร

2) ประเทศญี่ปุ่น มีกฎระเบียบตาม Introduction to Standards Certification and other Regu lations in Japan ที่เกี่ยวกับการนำเข้าผัก/ผลไม้สด ดังนี้

(1) Plant Protection Law จะกำหนดเงื่อนไขการนำเข้า ซึ่งประกอบด้วย

-Import-prohibited items ประกาศห้ามนำเข้าผลไม้บางชนิดจากแหล่งผลิตใดแหล่งผลิตหนึ่งหรือทั้งหมดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคและแมลง (Fruits flies) โดยจะอนุญาตให้นำเข้าได้ถ้าพิสูจน์ได้ว่าสามารถกำจัดโรคและแมลงได้ทั้งหมด หรืออนุญาตให้นำเข้าได้ในรูปของผลไม้แช่แข็ง ณ ระดับอุณภูมิเท่ากับหรือต่ำกว่า-17.8 องศาเซลเซียส หรือ 0 องศาฟาเรนไฮต์

-Conditionally permitted items รัฐบาลญี่ปุ่นจะประกาศชนิดและพันธุ์ผลไม้ที่อนุญาตให้นำเข้าได้ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เช่น ต้องผ่านกรรมวิธีกำจัดแมลงตามที่รัฐบาบญี่ปุ่นเห็นชอบ มีเอกสารรับรองปลอดศัตรูพืชจากรัฐบาลของประเทศผู้ส่งออก การบรรจุหีบห่อและการขนส่งเป็นไปตามที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนด

(2) Food Sanitation Law อาหารทุกชนิดรวมทั้งผลไม้ที่นำเข้ามาในประเทศต้องแจ้งกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นและต้องมีใบรับรองการตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาลประเทศผู้ส่งออกหรือสถาบันที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยต้องผ่านการตรวจสอบสารตกค้างที่ติดมากับผลไม้จากเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นด้วย

3) ประเทศในสหภาพยุโรป ตามกฎระเบียบขอบสหภาพยุโรปเกี่ยวกับปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ในผักและผลไม้และผลิตภัณฑ์ที่มีจากพืชบางชนิดนั้น สหภาพยุโรปออก Council Directive 90/642/EEC ในปี 1990 เพื่อควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างทั้งภายในและผิวนอกของผลิตภัณฑ์จากพืชรวมทั้งผักและผลไม้เป็นการกำหนดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมี โดยยังไม่ได้กำหนดของสารเคมีและปริมาณสูงสุดของสารตกค้าง

ในปี 1993 และ 1994 ได้ออก Council Directive 93/58/EEC และ Council Directive 94/30/EC เพื่อปรับปรุง Council Directive 90/642/EEC โดยกำหนดรายชื่อสารเคมี และปริมาณสูงสุดของสารตกค้าง

4) ประเทศแคนาดา กฎระเบียบด้านสุขอนามัยของแคนาดาคือผักและผลไม้สดที่นำเข้ามาในประเทศจะต้องผ่านการตรวจสอบสารเคมีปราบศัตรูพืช สารเคมีป้องกันและกำจักแมลงและเชื้อราจาก Food and Drug Inspection ของกระทรวงสาธารณสุขแคนาดาและต้องตรวจสอบเกี่ยวกับแมลงและโรคพืชจากกระทรวงเกษตรแคนาดา นอกจากนี้รัฐบาลแคนาดายังคำนึงความปลอดภัยของผู้บริโภคผักและผลไม้สดโดยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยไว้ดังนี้

(1) จะต้องไม่มีส่วนผสมของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือสารประกอบอื่นในผักและผลไม้ที่บริโภคดิบ ยกเว้นองุ่น

(2) ห้ามนำเข้าผลและผลไม้ที่อาบรังสี ยกเว้นมันฝรั่งและหอมใหญ่

5) ประเทศออสเตรเลีย ห้ามนำเข้าผลไม้สดจากไทยทุกชนิดนอกจากผลไม้แช่แข็งโดยผู้ส่งออกผลไม้ไปยังประเทศออสเตรเลียต้องขอคำยืนยันจากหน่วยงานรัฐบาลออสเตรเลียว่าผลไม้ชนิดใดได้รับอนุญาตให้นำเข้าได้

6) ประเทศสิงคโปร์ กำหนดปริมาณการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในการถนอมผลไม้ในระเบียบว่าด้วยอาหารปี ค.ศ. 1988 (พ.ศ.2531) โดยไม่อนุญาตให้มีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเนื้อลำไยแต่ยอมให้ตกค้างอยู่บนเปลือกได้ไม่เกิน 350 ppm

No comments: