Monday 9 November 2009

การปลูกพืช Hydroponics

  •  ฝนตก
ช่วงเพาะต้นกล้าจะต้องวางถ้วยเพาะบริเวณที่มีแสงแดด และพลาสติกคลุมด้านบนเพื่อป้องกันน้ำฝน
ช่วงต้นกล้าอยู่ในรางปลูก เมื่อมีฝนตกหรือลมจะต้องการมุ้ง หรือให้สแลนคลุมเพื่อลดแรงตกกระทบของน้ำฝน ทำให้ใบผักไม่ช้ำ
หากฝนตกปริมาณน้ำในถังน้ำจะเพิ่มขึ้น สารอาหารจะเจือจางลา ให้ใช้ EC วัดค่าความเข้มข้นของสารละลาย และเติมสารอาหาร A และ B ชนิดละเท่ากัน
  • ไฟฟ้าดับ
หากเกิดไฟฟ้าดับเป็นเวลานาน (เกินครึ่งชั่วโมง) ให้หนุนขาตั้งด้านที่ต่ำให้สูงกว่าด้านที่สูง (หัวราง) เล็กน้ยอ ตักสารละลายในถังเทลงในรางปลูก เพื่อไม่ให้รากพืชแห้ง
  • แสงแดด
กรณีพื้นที่วางโต๊ะวางปลูกมีต้นไม้บัง แสงไม่พอให้ถอดมุ้งที่กางออก เพื่อเพิ่มการรับแสงได้เต็มที่ เนื่องจากพืชตระกูลสลัด (Luttuce) เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีแสงแดดอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง
  • ค่าความเป็นกรด-ด่าง
ระดับค่าความเป็นกรดและด่างที่เหมาะสมสำหรับพืชแต่ละชนิดอาจจะแตกต่างกันไป ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการดูดซึมสารอาหารของพืชสำหรับผักสลัด (Lettuce) ระดับ pH ที่เหมาะสม คือ 5.5-6.5
  • การเก็บผักในราง
ผักจะมีอายุการเก็บอยู่ที่ 45 วัน นับตั้งแต่เพราะเมล็ด ให้เก็บผักยกรางเพราะจะไม่มีเศาของรากพืชตกค้างอยู่ในราง (เศษรากพืชเมื่อเน่าจะทำให้คุณภาพน้ำเสีย) และสามารถทำความสะอาดรางปลูกได้ง่าย
  • การทำความสะอาดรางปลูก
นำสายยางมาฉีดรางเพื่อให้เศษรากพืช ใบผัก และตะไคร่น้ำไหลออกจากราง ใช้แปรงล้างขวดนม แปรงขัดห้องน้ำมาถูร่องในรางในสะอาดรวมทั้งคราบตะไคร้สีเขียวให้หมดไปเพราะตะไคร่จะเป็นตัวแย่งสารอาหารจากรากพืช เมื่อทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วจึงนำต้นกล้าชุดใหม่ลงปลูกในราง (ควรเลือกวันเก็บผักและล้างรางให้ตรงกับวันที่ต้องเปลี่ยนน้ำประจำอาทิตย์เพราะจะทำให้ประหยัดน้ำและสารอาหาร
  • การเก็บรักษาผักเพื่อรับประทาน
เด็ดใบออกจากกัน
แช่ในอ่างน้ำเย็นและทำความสะอาด
ผึ่งผักให้แห้ง
นำผักเก็บในถุงพลาสติกพร้อมทั้งปิดปากถุงให้สนิท
เก็บในตู้เย็นช่องแช่ผัก สามารถเก็บผักได้ 5-7 วัน
  • การทำความสะอาดอุปกรณ์
  1. ปั๊มน้ำควรมีการทำความสะอาดปั๊มน้ำพร้อมกับการล้างรางปลูก เนื่องจากจะมีเศษตะกอนและตะไคร่น้ำเกาะอยู่บริเวณไส้กรองปั๊มน้ำ ดังนั้นให้ถอดฝาครอบไส้กรองออก และนำไส้กรองมาล้างทำความสะอาด
  2. EC หรือ pH Meter เมื่อใช้เสร็จจะต้องปิดเครื่องทุกครั้ง เพื่อยืดอายุการใช้งานของถ่านหลังจากการใช้ทุกครั้ง จะต้องทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด และใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง ถ้าเป็น pH Meter ให้หยอดน้ำที่โฟมบริเวณฝาของเครื่องมือ เพื่อให้แท่งแก้วชื้นตลอด และก่อนใช้เครื่องมือควรจุ่ม EC หรือ pH Meter ในน้ำสะอาดก่อนประมาณ 5 นาทีเพื่อปรับค่าก่อนใช้งาน อย่างไรก็ตามควรมีการ Calibrate เครื่องวัดด้วยอย่างน้อยเดือนละครั้งเพื่อให้ค่าที่อ่านได้ถูกต้องแน่นอน (การ Calibrate คือ การปรับเครื่องมือวัดค่าได้มาตรฐานเที่ยงตรง)

การเพาะต้นกล้า และการปลูกลงราง

1. นำวัสดุปลู (Perlite และ Vemiculite) รดน้ำให้เปียกและใส่ถ้วยเพาะ ซึ่งอาจจะใส่เต็มถ้วย หรือครึ่งถ้วยก็ได้ (วัสดุปลูก คือส่วนที่พยุงลำต้น) กรณีถ้าใส่แค่ครึ่งถ้วยเมื่อผักโต ในระดับหนึ่งควรเติมวัสดุปลูกช่วยพยุงผักไม่ให้ผักล้ม จากนั้นหาภาชนะมาวางใต้ถ้วยเพาะ และใส่น้ำสะอาดที่ก้นภาชนะความสูงประมาณ 1 ซม. เพื่อให้วัสดุปลูกมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา
2. เมือวัสดุปลูมีความชื้นแล้ว นำเมล็ดพันธุ์ใส่ตรงกลางถ้วยลึกประมาณ 1 ซม. กลบด้วยวัสดุปลูกแค่พอปิดเมล็ดไม่ให้ปลิว และใช้กระบอกฉีดน้ำแบบฝอยพ่นด้านบน เช้าเย็นทุกวันและให้เก็บไว้ในที่มืดไม่มีแสงเข้า 48 ชั่วโมง
3. วันที่ 3 ให้นำมาวางในตำแหน่งที่มีแสงแดดรำไร เมล็ดจะเริ่มงอก ถ้าหากโต๊ะปลูกว่างก็ให้นำลงรางได้เลย
4. ถ้าเกินกว่า 5 วัน แสดงว่าเมล็ดไม่งอกให้เพาะใหม่
5. เมื่อเมล็ดงอกใบที่ 3 ออกมา เริ่มให้สารละลายอ่อน ๆ แก่พืชแทนน้ำสะอาด
6. การผสมสารอาหารสำหรับต้นอ่อนตามขั้นตอนดังนี้

  • นำน้ำสะอาดมาวัดค่า pH (กรด-ด่างของน้ำ) โดยใช้น้ำยา pH Drop Test หรือ pH Meter และปรับให้อยู่ในช่วง 5.5 เพื่อให้การดูดอาหารของพืชเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ค่า pH สูงกว่ากำหนด ต้องปรับโดยเติมกรดฟอสฟอริก , กรดไนตริก (pH Down)
  • ค่า pH ต่ำกว่ากำหนด ต้องปรับโดยเติมโปตัสเซียมไฮดรออกไซด์ (pH Up)
  • ปริมาณสารที่ใช้ปรับค่า pH ใส่ในปริมาณ 2-3 หยด
  • เติมสารอาหารของพืช (Nutrient) A และ B อย่างละ 1 มิลลิเมตร หรือ 1 cc/ น้ำ 1 ลิตร ลงในถาด และใช้ EC Meter ( Electrical Conductivity) วัดค่าความเข้มข้นของสารละลายให้อยู่ที่ค่า 0.8 สำหรับผักสลัด สำหรับผักไทย ผักจีน และผักญี่ปุ่นให้อยู่ที่ค่า 2.2
  • ควรเปลี่ยนน้ำทุกอาทิตย์ หรือเมื่อเกิดตะไคร่น้ำ
  • เมื่อต้นกล้าอายุครบ 2 อาทิตย์ ยกต้นกล้ามาลงรางชุดโต๊ะปลูก (ถ้าโต๊ะปลูกว่างอยู่สามารถลงได้ก่อน 2 อาทิตย์ได้เลย)

การปลูกลงราง

  •  เติมน้ำประมาณเกือบเต็มถังหรือประมาณ 40 ลิตร
  • เติมสารอาหารของพืช A และ B ชนิดละ 3 cc หรือ มิลลิลิตร (ml) / น้ำ 1 ลิตร ผสมลงในถังน้ำ (หรือประมาณ 80 cc หรือมิลลิลิตร (ml) ต่อน้ำ 1 ถัง
  • ดำเนินการวัดค่าความเข้มข้นของสารอาหาร (EC/ CF) และความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 
 EC (ความเข้มข้นของสารอาหาร) โดยใช้เครื่องมือวัดค่า EC Meter/CF Meter
  • ผักสลัด  ค่า EC อยู่ระหว่าง 1.2 - 1.4
  • ผักไทย ผักจีน ผักญี่ปุ่น ค่า EC อยู่ระหว่าง 2.2 - 2.4
หมายเหตุ กรณี EC สูงกว่าที่กำหนดให้ปรับโดยการเพิ่มน้ำเพื่อลดความเข้มข้น
                  กรณี EC ต่ำกว่าที่กำหนดให้ปรับโดยการเพื่มสารอาหารของพืชเพิ่มขึ้น
PH (ความเป็นกรด เป็นด่าง) โดยใช้เครื่องมือ pH Meter หรือ pH Drop Test วัดค่า pH ให้อยู่เสในช่วง 5.5
  • เสียบปลั๊กไฟเพื่อเดินเครื่องปั๊มน้ำ
  • ยกต้นกล้าจากถาดเพาะวางลงรางปลูก โดยบริเวณที่ตั้งรางควารมีแสงแดดส่องถึงอย่างน้อย 6-8 ช.ม/ วั เพื่อให้ผักมีสีสวยยิ่งขึ้นและสวยงาม
  • วัดและปรับค่า EC และ pH ทุก ๆ  วัน ให้อยู่ในช่วงอัตราที่กำหนดให้
  • เปลี่ยนน้ำในถังประมาณอาทิตย์ละครั้ง ปิดปั๊มน้ำ เทสารอาหารที่เหลือออก (สามารถนำไปรดน้ำต้นไม้ได้ และทำความสะอาดถังให้สะอาด
  • ระยะเวลาการปลูกผักสลัด ประมาณ 40-45 วัน นับจากวันเพาะเมล็ดก็สามารถเก็บรับประทานได้

การเตรียมพื้นที่ปลูก

  • โต๊ะปลูก วางให้ได้รับแสงแดดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง/วัน ยิ่งเป็นแสงแดดตอนเช้า
  • ไม่ควรวางไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ จะบังแสงแดด ทำให้ผักยืด
  • และใกล้ปลั๊กเสียบไฟ มีกล่องไฟสวม เพื่อระวังน้ำฝน ต้องเสียบปั๊มน้ำตลอดเวลา 
  • ระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายโต๊ะปลูก
  • พื้นที่สำหรับวางโต๊ะปลูกควรจะเป็นแนวราบ เนื่องจากโต๊ะปลูกได้กำหนดระดับความลาดเอียงด้วยความสูงของขาโต๊ะเรียบร้อยแล้ว