Friday, 20 February 2009

ความปลอดภัยต่อผูบริโภคผักไม่ใช้ดิน

การปลูกพืชไม่ใช้ดินเป็นการนำสารละลายธาตุอาหารมาละลายโดยให้ธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อความต้องการของพืช ซึ่งในการดูดธาตุอาหารเข้าสู่พืชก็เป็นรูปอิออน เช่นเดียวกับการปลูกพืชในดินแต่ต่างกันตรงพืชที่ปลูกในดินจะต้องอาศัยจุลินทรีย์มาเปลี่ยนรูปของธาตุให้มาอยู่ในรูปอิออนก่อนที่พืชจะดูด
เข้าไป ซึ่งบางครั้งหากในดินมีธาตุโลหะหนัก เช่น ดีบุก แคดเมี่ยม ซึ่งเป็นพิษต่อผู้บริโภคจุลินทรีย์ก็เปลี่ยนให้พืชสามารถดูดธาตุเข้าไปได้ แต่ในขณะการปลูกพืชไม่ใช้ดินเราสามารถควบคุมธาตุที่มีความจำเป็นเฉพาะการเจริญเติบโตของพืชและความปลอดภัยต่อผู้บริโภคเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม การปลูกพืชไม่ใช้ดินส่วนใหญ่จะให้ธาตุในรูปของไนโตรเจนเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืช ทำให้มีโอกาสสะสมไนเตรทในผักสูงซึ่งสารไนเตรต จะถูกรีดิวส์ให้กลายเป็นไนไทรต์ (NO -2) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค
Methemoglobinemia ของเด็กทารกและยังอาจเปลี่ยนแปลงเป็นไนโทรซามีน (Nitrosamine) ซึ่งเป็น
สารก่อมะเร็ง แต่อย่างไรก็ตามปัญหานี้สามารถป้องกันได้โดยเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยในรูปเกลือคลอไรด์
(เช่น โพแทสเซียมคลอไรด์) แทนรูปเกลือไนเตรท หรือกรณีต้องใช้ปุ๋ยที่มีไนเตรท ตลอดจนใช้ปุ๋ยไนโตรเจนรูปอื่น ๆ ก็ต้องให้ใช้ในอัตราที่เหมาะสม หรือควรหยุดใส่ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต นอกจากนี้ การให้ธาตุอาหารอย่างเพียงพอ เช่น กำมะถัน และโมลิบดินัม เพื่อให้ขบวนการใช้ปุ๋ยสมบูรณ์ไม่ตกค้างเหลืออยู่ก็เป็นทางออกที่แก้ไขได้ อย่างไรก็ตาม ไนเตรตจะมีการสลายตัวได้เมื่อได้รับแสงแดดเต็มที่ ซึ่งประเทศไทยเป็นเมืองร้อน มีแสงแดดที่มากอยู่แล้วทำให้ปริมาณของการสะสมไนเตรทในพืชสลดลงจึงไม่จำเป็นต้องกังวลจนเกินไป แต่หากป้องกันได้โดยวิธีที่กล่าวมาก็จะทำให้เกิดความมั่นใจในการบริโภคมากยิ่งขึ้น

No comments: