Friday, 20 February 2009

การจัดการปลูกพืช

เนื่องจากการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินจะมีลักษณะการผลิตเหมือนกับการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม คือจะมีผลผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง ตามอายุการผลิต ดังนั้น จึงต้องวางแผนการผลิต การเก็บเกี่ยว การขนส่ง และการตลาดเป็นอย่างดี
การจัดการพืชในที่นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพในเวลาที่ต้องการ เช่น การเตรียมต้นกล้า การอนุบาลต้นกล้า การจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชในขณะทำการผลิตและการเก็บเกี่ยว การทำความสะอาดพื้นที่ปลูก วัสดุอุปกรณ์ปลูกพืช

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินจะมีลักษณะการผลิตแบบการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม
คือมีผลผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องตามอายุการผลิต จึงต้องวางแผนการผลิต
การเก็บเกี่ยว การขนส่ง และการตลาด

ความสำเร็จของการผลิตอยู่ที่ความแข็งแรงและความสมบูรณ์ของต้นกล้าที่เจริญเติบโตมาจากเมล็ด ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น การงอกของเมล็ด วิธีการเตรียมกล้าที่สัมพันธ์กับระบบปลูก
ปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการงอกของเมล็ดคือ น้ำ อุณหภูมิ ก๊าซ การสุกของเมล็ด แสงและสารเคมี ถ้าปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้มีความเหมาะสมแล้วจะทำให้เมล็ดที่มีการพักตัวสามารถงอกได้ดี
ต้นกล้ามีความสำคัญต่อความสำเร็จในการผลิตมากเพราะ จะทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตและตั้งตัวได้เร็ว เมล็ดพันธุ์ที่ดีจะต้องมีลักษณะตรงตามสายพันธุ์และมีความงอกดี ปกติแล้วการเพาะกล้าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์

ขั้นตอน การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์
ขั้นตอนการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ด้วยระบบการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ (Hydroponics) หรือระบบที่ไม่ใช้วัสดุปลูก (Water Culture) สามารถปลูกได้โดยที่ว่า เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้า สามารถนำกล้าไปปลูกในแปลงอนุบาลก่อน แล้วจึงนำต้นกล้าไปปลูกที่แปลงปลูกโดยตรงก็ได้
ในขณะที่ระบบปลูกที่ใช้วัสดุปลูก (Substrate Culture) จะนำเมล็ดที่งอกเป็นต้นกล้า ในแปลงเพาะกล้าไปปลูกที่ที่แปลงปลูก หรือจะนำเมล็ดไปปลูกที่แปลงปลูกโดยตรง

การปลูกด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ (Hydroponic)
หรือระบบที่ไม่ใช้วัสดุปลูก (Water Culture)
เพาะเมล็ด เมล็ดงอกเป็นต้นกล้า หรือ

นำต้นกล้าไปปลูกในแปลงอนุบาล
นำต้นกล้าไปปลูกในแปลงปลูก
ตรวจวัด EC และ pH ทุกวันถ้า EC ลดลงให้เติมปุ๋ยตามที่พืชต้องการโดยแรงคนหรืออัตโนมัติ
นำสารละลายที่เปลี่ยนไปใช้กับระบบใช้วัสดุปลูก (Substrate Culture) หรือปลูกพืชอื่น ๆ บนดิน
- ตรวจวัด EC และ pH ทุกวันถ้า EC ลดลงให้เติมปุ๋ยตามที่พืชต้องการโดยแรงคนหรืออัตโนมัติ
- ก่อนเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์ ให้ลดปริมาณธาตุอาหารลงและก่อนเก็บเกี่ยว 1 – 2 วัน

รูปแบบการปลูกพืชไม่ใช้ดิน

ในการปลูกไม่ใช้ดิน อาจจำแนกได้หลายรูปแบบ โดยจำแนกได้ดังนี้

1. การปลูกในสารละลาย (Water culture)
ซึ่งเรียกว่าการปลูกแบบ Hydroponics โดยแบบนี้สามารถจำแนกได้ 2 รูปแบบ คือ

1.1 แบบน้ำไหลเวียน
โดยอาจไหลผ่านรางปลูกแบบฟิล์มบางเรียกว่า Nutrient film Technique (NFT) และน้ำลึกประมาณ ( ประมาณ 5 – 10 ซม.) ไหลผ่านรางปลูก เรียกว่า Deep Flow Technique (DFT) ซึ่ง
ทั้ง 2 แบบ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็นรูปการค้ามากขึ้นเนื่องจากมีการจัดการที่ไม่ยุ่งยากและสามารถตอบสนองในการเจริญเติบโตของพืชค่อนข้างมาก

1.2 แบบน้ำซึมเข้าสู่ระบบรากพืช (passive system)
โดยอาจทำได้โดยปลูกพืชแล้วมีส่วนที่เป็นท่อนำสารละลายปุ๋ยให้ได้สัมผัสกับรากพืช เช่น
ปลูกในภาชนะ 2 ชั้น โดยมีส่วนขังน้ำด้านล่างและด้านบน มีวัสดุปลูกมีส่วนดูดน้ำขึ้นไป ซึ่งเรียกว่า
แบบ Capillary system อีกแบบคือ ให้รากพืชสัมผัสกับรากโดยตรงคล้ายกับแบบ Deep flow Technique แตกต่างตรงที่น้ำไม่หมุนเวียนแต่จำเป็นต้องเติมปริมาณก๊าซออกซิเจนลงไปละลายกับปุ๋ย
ซึ่งเรียกแบบนี้ว่า Float root system แบบนี้จะนิยมใช้ในการศึกษาพืชปลูกในสารละลายในช่วงแรกแต่กรณีปลูกทางการค้าจะประยุกต์ให้มีการไหลเวียนของน้ำเช่นเดียวกับแบบ NFT

แบบ Float root system
2. การปลูกโดยพ่นสารละลายใต้โคนรากพืช (Aeroponics)
โดยมีการควบคุมให้รากพืชสัมผัสสารละลายต่อเนื่องตลอดที่ต้นพืชต้องการ การปลูกพืชโดยพ่นสารละลายในอากาศทำให้ต้นพืชมีการเติบโตค่อนข้างดี แต่มีปัญหาอาจทำให้รากพืชแห้ง และยังส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตได้ถ้าหากไม่ศึกษาสภาพแวดล้อมดีพอ การปลูกแบบ Aeroponics อาจนำมาประยุกต์ในการขยายพันธุ์พืชและใช้ในการศึกษาทางสรีรวิทยาของต้นพืชในสภาพแวดล้อม ของแต่ละท้องที่

3. การปลูกโดยใช้วัสดุปลูก (Substrate culture)
ในการปลูกแบบนี้สามารถปลูกได้หลายรูปแบบ โดยพิจารณาจากวัสดุที่ใช้ปลูก ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
3.1 วัสดุปลูกที่เป็นอินทรีย์ (Organic subsstrate) เป็นวัสดุที่มาจากธรรมชาติ เช่น ขี้เลื่อย
แกลบ ถ่าน เปลือกไม้ ฮิวมัส ปุ๋ยหมักต่างๆ
3.2 วัสดุปลูกทีเป็นอนินทรีย์ (Inorganic substrate) โดยใช้วัสดุที่เป็นพวก ทราย กรวด
ฟองน้ำ การปลูกโดยไม่ใช้ดินแบบใช้วัสดุปลูกจะปฏิบัติหลักการเดียวกับการให้นำปุ๋ยระบบน้ำแต่ต่างกันตรงที่ใช้แล้วจะให้ไหลกลับมาสู่ถังเก็บและปรับสภาพให้เหมาะสมในการปลูกพืชต่อไป การปลูกแบบนี้เหมาะสมกับบ้านเราในการปลูกพืชหัวโดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับพวก กระเจียว ซ่อนกลิ่น ฝรั่ง
และผัก เช่น พริก มะเขือ

พืชที่จำเป็นต้องการให้ยึดโยงต้นให้แข็งแรง เช่น มะเขือเทศ แตงกวา หรือไม้ยืนต้น และไม่เหมาะในการปลูกในพื้นที่ที่มีลมพัดแรง ๆ

4. การปลูกแบบระบบ DFT (Deep Flow Technique)

การปลูกแบบระบบให้สารละลายธาตุอาหารพืช
ไหลผ่านรากพืชในราง / ท่อ / ถาดปลูกระดับลึก (Deep Flow Technique) DFT
วิธีนี้จะนำต้นกล้าที่ปลูกบนแผ่นโฟม มาปลูกบนวัสดุปลูกที่เป็น
3.ท่อปลูกแล้วให้สารละลายธาตุอาหารลึกกว่า 2 แบบแรกที่กล่าวมาปกติแล้วถาดปลูกมักทำด้วย
1.โฟมขึ้นรูปเป็นตัว (U) คล้ายกล่อง
2. ท่อทรงกลมเพื่อใส่สารละลายธาตุอาหารพืช มีฝาปิดเรียกว่า แผ่นปลูกเพื่อรองรับต้นกล้าที่เพาะในฟองน้ำ หรือ เพาะในถ้วยเพาะ
ถ้าเป็นรางปลูกที่ทำจากท่อ และใช้กล้าที่เพาะในถ้วยเพาะจะสามารถให้สารละลายทั้งแบบหมุนเวียนอย่างต่อเนื่องหรือให้เป็นระยะ ๆ แบบท่วมขังในท่อลึกประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร
(โดยน้ำจะท่วมรากพืชในถ้วยบางส่วน) ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเมื่อ “ระบบไฟฟ้าขัดข้อง” เพราะรากพืชยังสามารถใช้น้ำหรือสารละลายที่ท่วมขังอยู่ในรางปลูกได้อันเป็นเหตุผลของการปลูกระบบนี้
ถ้าเป็นถาดปลูกก็จะมีลักษณะคล้ายอ่าง สามารถใส่สารละลายธาตุอาหารได้ลึกประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร แล้วให้สารละลายธาตุอาหารพืชแบบหมุนเวียน
การปลูกโดยใช้ถาดปลูกจะเหมือนกับการปลูกพืชแบบลอยน้ำ (Float system) ซึ่งเป็นระบบที่ปลูกได้ดีในที่ที่มีแดดจัด การปลูกโดยวิธีนี้จะมีช่องว่างระหว่างแผ่นปลูกกับสารละลายธาตุอาหารพืช ประมาณ 12 – 25 มิลลิเมตร เพื่อให้รากพืชบางส่วนถูกอากาศและบางส่วนจุ่มแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารซึ่งช่องว่างนี้สารมารถปรับลดได้ตามอายุของพืช โดยมีหลักว่า
1.ให้รากส่วนบริเวณตรงโคนจากส่วนที่เป็นแผ่นปลูกในช่องว่างก่อนที่จะจุ่มลงในสารละลายธาตุอาหารได้สัมผัสกับอากาศเป็น “รากอาหาร (Oxygen roots หรือ Aero roots)” เพื่อดูดอากาศ
2.รากส่วนที่จุ่มอยู่ในสารละลายธาตุอาหารทำหน้าที่ดูดน้ำและธาตุอาหารขึ้นไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตของพืชเป็น “รากอาหาร (Water nutrient roots)” ดังนั้น พืชจึงได้รับทั้งอากาศและอาหารเพื่อการเจริญเติบโต (ซึ่งมีส่วนของรากอากาศประมาณ 12 – 25 มิลลิเมตร)

4.1. ระบบ DFT หรือ Deep Flow Technique แบบปลูกในรางปลูก

Deep Flow Technique Deep Flow Technique คือ การปลูกแบบ
ระบบให้สารละลายธาตุอาหารพืชไหลผ่านรากพืช
ในระดับลึก ในรางปลูกระบบนี้ จะนำต้นกล้าที่เพาะ
โดยใช้เพอร์ไลท์ผสมกับเวอร์มิพูไลท์มาปลูกในรางปลูก
ซึ่งรางปลูกทำจากท่อพีวีซีทรงกลมแล้วให้สารละลาย
ธาตุอาหารในระดับลึก

ระบบ DFT เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาจากระบบ NFT เพื่อแก้ปัญหาเมื่อ “ระบบไฟฟ้าขัดข้อง” เพราะรากพืชยังสามารถใช้น้ำหรือสารละลายที่ท่วมขังอยู่ในรางปลูก

4.2 ระบบ DFT หรือ Deep Flow Technique แบบปลูกในถาดปลูก.
Deep Flow Technique Deep Flow Technique คือ การปลูกแบบระบบให้สารละลายธาตุอาหารพืชไหลผ่านรากพืชในระดับลึกในถาดปลูก ระบบนี้จะนำต้นกล้าที่เพาะในฟองน้ำบรรจุลงถ้วยปลูกมาปลูกบนแผ่นปลูกที่ทำด้วยโฟมที่วางอยู่บนถาดปลูก แล้วให้สารละลายธาตุอาหารในระดับลึก โดยมีวัสดุปรับระดับความลึกของสารละลาย
ระบบ DFT แบบนี้เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเมื่อ “ระบบไฟฟ้าขัดข้อง” เพราะ
รากพืชยังสามารถใช้น้ำหรือสารละลายที่ท่วมขังอยู่ในถาดปลูก

คุณลักษณะของระบบปลูก
1. ระบบ DFT แบบปลูกในถาดปลูก มีขนาด 0.65 x1.35 เมตร ปลูกผักจีนได้ ถาดละ 60-100 ถ้วยปลูก ปลูกผักสลัดได้ถาดละ 20 ถ้วยปลูก ถาดปลูกผลิตด้วยพลาสติก ชนิด POLYPROPYLENE(PP) ได้รับการยอมรับ จาก Greenpeace ว่าเป็นความหนาแน่นสูงด้วยระบบ INJECTION MOULDING พลาสติก ชนิด POLYPROPYLENE(PP) ได้รับการยอมรับ จาก Greenpeace ว่าเป็น plastic ที่สะอาดมากที่สุดชนิดหนึ่ง
2. ตัวชุดปลูกสามารถใช้แบบอเนกประสงค์คือ ใช้เป็นถาดเพาะกล้า ถาดอนุบาลกล้า
และถาดปลูก ที่สำคัญคือสามารถต่อเป็นชุดปลูกแบบเป็นแถวได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
3. การเพาะและอนุบาลกล้า ทำการเพาะกล้าเมื่อเมล็ดงอกดีแล้วก็ย้ายลงสู่แปลงอนุบาล
ก่อนย้ายลงสู่แปลงปลูก
4. ตัวอย่างพืชที่ปลูก สามารถปลูกได้ทั้งผักฝรั่ง คือ ผักสลัด ผักไทย และผักจีน

ปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดิน

สิ่งหนึ่งที่จะปลูกพืชให้สำเร็จได้คือต้องรู้จักต้นพืชดีพอ ดังนั้นในด้านปัจจัยการเจริญเติบโตประกอบด้วยสิ่งหลัก ๆ ดังนี้

· ด้านพันธุกรรม (genetic)
· ด้านสิ่งแวดล้อม (environmental)
· การจัดการ (management)

ซึ่งเราต้องมีการจัดการให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของต้นพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินและต้อง
มีความรู้พื้นฐานต่าง ดังนี้

1. ลักษณะทางพันธุกรรม (genetic)
พันธุกรรม เป็นตัวบ่งบอกว่าพืชมีลักษณะต่าง ๆ เช่น โต เล็ก สูง เตี้ยตามแต่ชนิดของพันธุ์พืชนั้น ๆ ดังนั้น เราจะต้องมีความรู้เรื่องจำเพาะของพันธุ์พืชที่จะปลูก ต้องสามารถทราบลักษณะพิเศษ
ของพันธุ์ทราบปัญหาในการผลิตว่าทนต่อการทำลายของศัตรูแค่ไหน ทราบอายุในการเก็บผลผลิต
ความเหมาะสมในกรณีนำมาปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน การตอบสนองต่อภูมิอากาศในพืชที่ปลูกซึ่งพืชบางชนิดจะตอบสนองต่ออุณหภูมิที่แตกต่างกัน เช่น ปวยเล้ง ชอบอุณหภูมิ 15.5 – 18.5 องศาเซลเซียส
หอม กระเทียม ชอบอุณหภูมิ 12.5 – 24 องศาเซลเซียส แตงกวา มะเขือเทศจะทนต่ออากาศร้อน แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันความก้าวหน้าในการปรับปรุงพันพืชสามารถผลิตพันธุ์พืชที่ปลูกได้ในทุกสภาพอากาศบ้านเรา เช่น ผักกาดหอม กะหล่ำปลี บล๊อคโคลี่ เป็นต้น
ในด้านอายุพืชการเจริญเติบโต และการพัฒนาการของพืชจะทำให้เกิดความแตกต่างของความเข้มข้นของแร่ธาตุอาหาร ในส่วนของพืชซึ่งโดยปกติ เมื่อพืชอายุมากขึ้น ความเข้มข้นของแร่ธาตุอาหารจะแสดงต่อหน่วยน้ำหนักแห้งที่ลดลง ซึ่งแสดงว่าเกิดจากการเจือจางของสารละลาย


2. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (environmental)

แสง
แสงเป็นวัตถุดิบที่จำเป็นต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของต้นพืชอย่างมาก ซึ่งอาจได้จากแสงอาทิตย์ หรือแสงที่ได้จากดวงไฟ จะมีผลต่อต้นพืช การได้รับปริมาณแสงและการดูดรับแสงโดยธรรมชาติของพืชบางชนิด เช่น แตงกวา พริก มีความต้องการแสงเต็มที่ แต่บางชนิดต้องการแสงน้อย ดังนั้น เราจะต้องพิจารณาความเหมาะสมของแสง ที่แสงน้อยเกินไปทำให้ต้นพืชอ่อนแอหรือมีการยืดของข้อต้น มีผลให้การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติหรือไม่เจริญเลยหากได้รับแสงมากที่ก่อให้เกิดความเสียหายควรใช้ตาข่ายพรางแสงที่เรียกว่า ซาแรน (saran) ช่วยลดความเข้มแสงให้เหมาะสมและช่วงความยาวแสงในแต่ละวันจะมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของพืชต้น เช่น ต้นเบญจมาศ ซึ่งถ้าหากได้รับแสงช่วงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง จะมีการเกิดดอก และหากมีการได้รับแสงมากกว่า 15 ชั่วโมง ก็จะมีการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ แต่อย่างไรก็ตามพืชบ้านเราซึ่งเป็นพืชเมืองร้อนพันธุ์ผักทั่วไป สามารถเจริญเติบโตได้ดีในระดับความเข้มแสงสูงจะทำให้มีการดูดธาตุอาหารและน้ำไปใช้กับต้นพืชมากขึ้น ในการปลูกพืชไม่ใช้ดิน ที่ปลูกตามระเบียงในกรณีแสงไม่เพียงพอ จะทำให้ต้นพืชยึดและโตช้าหรืออาจไม่โตเลยจึงจำเป็นต้องให้แสงไฟที่ระดับความเข้มสูงเพียงพอที่จะสามารถให้พืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงได้

อุณหภูมิ
อุณหภูมิเป็นปัจจัยที่มีผลอันเนื่องมาจากความเข้มแสงหรือระดังความสูงของพื้นที่ในแต่ละพื้นที่ ต้องมีการทราบข้อมูล อุณหภูมิสูงสุด ค่าสูงสุดในรอบที่ผ่านมา เพื่อใช้ประกอบในการพิจารณาเลือกชนิดพืชที่ใช้ปลูก ซึ่งความเหมาะสมต่ออุณหภูมิของพืชจะขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้อุณหภูมิจะมีผลต่อคุณภาพผลผลิตซึ่งในอุณหภูมิต่ำจะทำให้พืชมีเส้นใยน้อยและรสชาติดีขึ้น นอกจากนี้อุณหภูมิลดต่ำลง ก็ทำให้ต้นพืชสามารถเปลี่ยนช่วงการเจริญจากกิ่งใบมาให้ผลผลิตได้ ในสภาพอุณหภูมิสูงทำให้ต้นพืชดูดธาตุอาหารเพิ่มขึ้น แต่หากสูงเกินไปทำให้การดูดช้าลง

ความสูงของพื้นที่กับระดับน้ำทะเล
ในสภาพทั่วไปประเทศไทยความสูงของพื้นที่ไม่มีความแตกต่างกันกับการปลูกพืชมากนัก แต่ที่มีผลเพราะไปมีผลต่อระดับอุณหภูมิเนื่องจากทุกระดับความสูงทำให้อุณหภูมิมีการลดต่ำลง เช่น ในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา หรือพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีระดับพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลมาก มีผลให้อุณหภูมิต่ำเหมาะกับการปลูกพืชที่ชอบอุณหภูมิต่ำได้ดี แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาพันธุ์ที่ปลูกได้กว้างขึ้น
ความชื้นสัมพัทธ์และปริมาณน้ำที่ใช้
ในสภาพบ้านเราเป็นเขตร้อน สภาพที่อากาศแห้งหรือความชื้นในอากาศน้อยมีผลทำให้ต้นพืชเกิดการเหี่ยวเฉาได้ ในการปลูกพืชไม่ใช้ดินการอาศัยน้ำมาเป็นตัวทำละลายธาตุอาหารจะต้องศึกษาคุณภาพน้ำ แหล่งน้ำ ที่นำไปใช้มีความเหมาะสมเพียงใด ซึ่งถ้าหากน้ำเป็นกรดสูง (pH ต่ำ) พืชจะดูดธาตุอาหารพวกประจุบวก (cation) ลดลงในขณะเดียวกันจะดูดธาตุประจุลบสูงขึ้น (anion) ดังนั้น ควรใช้น้ำในระดับ pH ที่เหมาะสม ที่มีความเป็นกลางจะเหมาะต่อการนำไปใช้ของพืช
ลม
ในการปลูกพืชไม่ใช้ดิน ลม นอกจากมีผลในการทำให้ต้นพืชมีการคายน้ำสูงแล้วยังมีผลทำให้เกิดการโยกคลอนของต้นพืชทำให้รากขาด มีการชะงักการเจริญเติบโตและเป็นช่องทางการเข้าทำลายของศัตรูพืช จึงจำเป็นต้องมีการสร้างฉากเพื่อลดแรงปะทะลม เช่น ใช้ตาข่ายบังแรงลมปะทะ เช่น ซาแลน
หรือสร้างโรงเรือนหรือปลูกต้นไม้เป็นแนวป้องกันลม เช่น ต้นกระถินเทพา สน กล้วย ซึ่งทุกระดับความสูงจะสามารถลดแรงปะทะลมได้

ระดับปริมาณก๊าซในบรรยากาศ
ระดับปริมาณก๊าซในบรรยากาศที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และออกซิเจน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์และการหายใจของต้นพืชในการปลูกพืชไม่ใช้ดินในโรงเรือนจะสามารถควบคุมปริมาณที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ดีส่วนออกซิเจนจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการหายใจและมีบทบาทต่อการดูดธาตุอาหารของรากพืชซึ่งถ้ารากพืชได้ออกซิเจนที่น้อยจะทำให้การดูดธาตุอาหารลดลง ซึ่งค่าน้อยกว่า 3 % จะมีผลต่อการลดการดูดธาตุอาหารเป็นอย่างมาก

ธาตุอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
ธาตุอาหารเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ต้นพืชมีการเจริญเติบโต ธาตุที่พืชผักใช้มากที่สุด คือ
ธาตุคาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) และไฮโดรเจน (H) เป็นองค์ประกอบหลักของพืช แต่เนื่องจากธาตุ
ทั้ง 3 ตัว มีจำนวนมากในบรรยากาศและในน้ำจึงไม่กล่าวถึงมากนัก กล่าวเฉพาะธาตุที่จะต้องให้เพิ่มเติม คือ ไนโตรเจน (N) โพแทสเซียม (K) ฟอสฟอรัส (P) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S)
ซึ่งจะนำไปใช้มากและธาตุอีกกลุ่มหนึ่งที่ขาดไม่ได้และจำเป็นต้องมีคือธาตุเหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu)
แมงกานีส (Mn) โมลิบดินัม (Mo) สังกะสี (Zn) คลอรีน (Cl) โบรอน (B) และปัจจุบันได้พบว่านิเกิล (Ni)
เป็นอีกธาตุหนึ่ง ซึ่งธาตุแต่ละตัวมีบทบาทต่อสรีระในการเจริญเติบโตที่มีอยู่ในธรรมชาติ ดังนั้น ในการ
ปลูกไม่ใช้ดินต้องให้เพียงพอกับพืชต้องการในแต่ละช่วงการเจริญ นอกจากนี้ยังมีการสร้างสารควบคุมการเจริญเติบโตที่พืชสร้างขึ้นที่มีการส่งเสริมในการเติบโตที่มีอยู่เล็กน้อยก็ตอบสนองต่อการเจริญของพืช หรือเรียกว่า ฮอร์โมนพืชประกอบด้วยกลุ่มที่ส่งเสริมสาร กลุ่มออกซิน (AUXIN) จิบเบอเรลิน (GIBBERELLIN) และไซโตไคนิน (CYTOKININ) และกลุ่มยับยั้งการเจริญเติบโต เช่น เอทิลีนและสารยับยั้งการเจริญเติบโต (INHIBITOR) และรวมถึงสารชะลอการเจริญเติบโต (GROWTH RETARDANT)เช่น พาโคลบิวทราโซล (Paclobutrazol)
ความเป็นกรด – ด่าง (pH) ของสารละลายธาตุอาหารพืช
จะวัดในรูปการแตกตัวของอิออน H เป็นของค่า pH ซึ่งช่วง pH ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชส่วนใหญ่คือ 5.0 – 6.0 ค่า pH ต่ำกว่า 4 รากพืชจะเกิดอันตราย และถ้าสูงกว่า 7 การเคลื่อนย้ายฟอสเฟต แมงกานีส และเหล็ก จะถูกรบกวน ควรตรวจสอบระดับ pH ทุกวัน ถ้า
สารละลายมีสภาพเป็นกรดจะต้องยกระดับ pH ด้วย Potassium hydroxide (KOH) หรือ
Sodiumhydroxide (NaOH) ถ้าสารละลายธาตุอาหารพืชมีสภาพเป็นด่างต้องลดระดับ pH ด้วย nitric
Acid (HNO3) , phosphoric acid (H3 PO4) sulphuric acid (H2 SO4) หรือ hydrochloric acid (HCI)
3. การจัดการในการปลูกพืชไม่ใช้ดิน (management of soilless culture)
สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ ความสัมพันธ์ของส่วนรากและส่วนยอดต้องมีความสัมพันธ์อยู่ต่อเนื่องตลอด
เนื่องจากทั้งสองมีความเกี่ยวข้องต่อกันอย่างแยกไม่ออกในส่วนยอดซึ่งประกอบด้วย ใบ ดอก ผล กิ่ง
ลำต้น จะทำหน้าที่ในการผลิตสังเคราะห์อาหารสะสมโดยขึ้นกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมในด้านอุณหภูมิ แสง
ซึ่งมีผลต่อกระบวนการต่าง ๆ อย่างมาก เช่น มีการคายน้ำ การหายใจ และความสามารถของการนำธาตุอาหารมาใช้ ซึ่งหากบริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นถูกทำลายก็จะทำให้ไปลดพื้นที่ในการสร้างอาหาร ซึ่งมีส่วนสีเขียวของคลอโรฟิลล์ที่อยู่บนต้นที่สามารถสังเคราะห์แสง สร้างอาหารได้แล้วนำอาหารที่สร้างส่วนบนไปใช้ทั้งต้นรวมทั้งส่วนราก ซึ่งถ้าหากรากมีการได้รับอาหารน้อยการพัฒนาของรากในการดูดหาอาหารก็จะลดน้อยลงไปด้วย และเช่นเดียวกันหากส่วนใบหรือด้านบนทำลายมาก ๆ จะทำให้รากขาดอาหารและตาย
หรือปริมาณลดน้อยลงในขณะเดียวกันรากก็จะทำหน้าที่ดูดลำเลียงแร่ธาตุและน้ำเป็นวัตถุดิบ ให้ส่วนข้างบนนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป หากมีการตัดรากหรือรากเกิดเน่าเสีย ทำให้การดูดน้ำและแร่ธาตุไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่ส่งไปยังส่วนใบหรือข้างบน ทำให้ใบพืชมีการร่วงเหี่ยวและผลผลิตลดลง โดยสภาพทั่วไปแล้วเมื่อต้นพืชมีการแตกยอดอ่อน ระบบรากจะมีการชะลอการเจริญเติบโตเมื่อใบเริ่มแก่ สามารถสร้างอาหารส่งมาให้รากมีการพัฒนาและเจริญเติบโต ดังนั้น หากเข้าใจทั้ง 2 ส่วนที่สัมพันธ์ต่อกันเราสามารถผลิตพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเราจะต้องพิจารณาแต่ละส่วนของต้นพืชเพื่อมาจัดการให้เหมาะสมต่อการพัฒนาของต้นพืชได้ ดังนี้


การจัดการบริเวณส่วนต้นพืช

1. การควบคุมอุณหภูมิบริเวณส่วนใบจะต้องควบคุมให้เหมาะสม เพราะอุณหภูมิหากร้อนเกินไปทำให้ต้นพืชมีความเสียหายได้ แต่อย่างไรก็ตามอุณหภูมิที่สูงทำให้มีการดูดธาตุอาหารดีขึ้น

2. การควบคุมระดับแสงที่เหมาะสมต่อการเติบโตของพืชเนื่องจากแสงมีความจำเป็นในกระบวนการสังเคราะห์แสงอาจใช้แสงจากหลอดไฟ ที่มีระดับความเข้มของแสงเพียงพอในการใช้ การสังเคราะห์แสง ซึ่งในปัจจุบันได้ผลิตหลอดไฟที่มีขนาด 400-1000 watt ชนิด Methal halide และ High pressure sodium ซึ่งมีความสว่างตั้งแต่ช่วง 50,000 – 130,000 Lumens โดยแสงที่ส่องมาจะต้องไม่ไปทำให้เกิดความร้อนจนเกิดความเสียหายของพืชจึงได้มีการผลิตพิเศษเรียกว่า Horticulture Lighting System(HLS) กรณีถ้าความเข้มของปริมาณแสงไม่เพียงพอก็ทำให้ต้นพืชไม่เจริญเติบโต หรือโตช้าหรือมีการยืดของต้นพืช สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศเมืองร้อน ที่ได้รบแสงจากธรรมชาติเพียงพออยู่แล้วถ้าปลูกในสภาพกลางแจ้งไม่มีเงาของอาคารสูงบดบัง
3. การล้างความสมดุลโดยลดการคายน้ำของพืช โดยการเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศโดยอาจติดหัวพ่นละอองฟองของน้ำ
4. การเพิ่มประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงและการลดการหายใจโดยสร้างสภาพบรรยากาศควบคุมปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนให้เหมาะสม ซึ่งหากสามารถควบคุมได้โดยเฉพาะในการปลูกพืชในโรงเรือน

ความปลอดภัยต่อผูบริโภคผักไม่ใช้ดิน

การปลูกพืชไม่ใช้ดินเป็นการนำสารละลายธาตุอาหารมาละลายโดยให้ธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อความต้องการของพืช ซึ่งในการดูดธาตุอาหารเข้าสู่พืชก็เป็นรูปอิออน เช่นเดียวกับการปลูกพืชในดินแต่ต่างกันตรงพืชที่ปลูกในดินจะต้องอาศัยจุลินทรีย์มาเปลี่ยนรูปของธาตุให้มาอยู่ในรูปอิออนก่อนที่พืชจะดูด
เข้าไป ซึ่งบางครั้งหากในดินมีธาตุโลหะหนัก เช่น ดีบุก แคดเมี่ยม ซึ่งเป็นพิษต่อผู้บริโภคจุลินทรีย์ก็เปลี่ยนให้พืชสามารถดูดธาตุเข้าไปได้ แต่ในขณะการปลูกพืชไม่ใช้ดินเราสามารถควบคุมธาตุที่มีความจำเป็นเฉพาะการเจริญเติบโตของพืชและความปลอดภัยต่อผู้บริโภคเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม การปลูกพืชไม่ใช้ดินส่วนใหญ่จะให้ธาตุในรูปของไนโตรเจนเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืช ทำให้มีโอกาสสะสมไนเตรทในผักสูงซึ่งสารไนเตรต จะถูกรีดิวส์ให้กลายเป็นไนไทรต์ (NO -2) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค
Methemoglobinemia ของเด็กทารกและยังอาจเปลี่ยนแปลงเป็นไนโทรซามีน (Nitrosamine) ซึ่งเป็น
สารก่อมะเร็ง แต่อย่างไรก็ตามปัญหานี้สามารถป้องกันได้โดยเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยในรูปเกลือคลอไรด์
(เช่น โพแทสเซียมคลอไรด์) แทนรูปเกลือไนเตรท หรือกรณีต้องใช้ปุ๋ยที่มีไนเตรท ตลอดจนใช้ปุ๋ยไนโตรเจนรูปอื่น ๆ ก็ต้องให้ใช้ในอัตราที่เหมาะสม หรือควรหยุดใส่ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต นอกจากนี้ การให้ธาตุอาหารอย่างเพียงพอ เช่น กำมะถัน และโมลิบดินัม เพื่อให้ขบวนการใช้ปุ๋ยสมบูรณ์ไม่ตกค้างเหลืออยู่ก็เป็นทางออกที่แก้ไขได้ อย่างไรก็ตาม ไนเตรตจะมีการสลายตัวได้เมื่อได้รับแสงแดดเต็มที่ ซึ่งประเทศไทยเป็นเมืองร้อน มีแสงแดดที่มากอยู่แล้วทำให้ปริมาณของการสะสมไนเตรทในพืชสลดลงจึงไม่จำเป็นต้องกังวลจนเกินไป แต่หากป้องกันได้โดยวิธีที่กล่าวมาก็จะทำให้เกิดความมั่นใจในการบริโภคมากยิ่งขึ้น

เป็นแหล่งรายได้และลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

โดยไม่เสียเวลาในการเดินทางไปซื้อผักในตลาด สามารถวางแผนให้ผลิตพืชผักได้ตลอดทั้งปี
ในการผลิตออกสู่ตลาดต่อไปเมื่อมีผลผลิตเหลือจากการบริโภค

เหมาะกับผู้หญิง ผู้สูงอายุ และคนพิการ ปลูกต้นไม้

การปลูกไม่ใช้ดินจะมีการสร้างในโต๊ะหรือดัดแปลงให้เหมาะสมกับการทำงานของคนที่ใช้รถเข็นและพื้นที่เรียบ ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายและหยิบจับไม้ได้ถ้าสะดวก
คุณค่าทางจิตใจ
ช่วยเสริมความงามและรักษาสภาพแวดล้อม
เนื่องจากสามารถจัดให้สวยงาม มีต้นไม้ขึ้นอยู่ทุกส่วนพื้นที่ที่ปลูกไว้ เพราะไม่มีข้อจำกัด ทำให้สภาพสีเขียวโดยสามารถดัดแปลงวัสดุที่เหลือใช้มาใช้เป็น
การลดมลพิษทางขยะได้อีกทางหนึ่ง

Hydroponics บนดาดฟ้าหรือระเบียงบ้าน

ในการปลูกพืชไม่ใช้ดินสามารถปลูกบนอาคาร
หรือดาดฟ้า แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือปัญหาเรื่อง แรงลม
แสง และการระบายน้ำ ดังนั้น ควรมีหลังคาหรือระเบียง
ที่สูงตามระเบียงหรือริมหน้าต่างโดยออกแบบ
ระบบปลูกให้จัดวางไว้ในที่เหมาะสมและสวยงาม

Hydroponics ประโยชน์ทางโภชนาการ

พืชผักเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัยมีสรรพคุณทางยา เป็นแหล่งของวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นแหล่งอาหารที่มีไขมันต่ำมีน้ำ และกากเส้นใยอาหารจำนวนมาก ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีลดการเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปลายลำไส้ใหญ่ขับถ่ายกากใยพร้อมสารพิษออกมาเป็นแหล่งสารอาหารที่ทำให้ร่างกายสมบูรณ์ โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินดี สารประกอบที่มีประโยชน์อื่น ๆ พืชแต่ละชนิด

คุณประโยชน์สรรพคุณทางยา
พืชผักที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินมีประโยชน์ทางยาหรือบำรุงร่างกายหลายอย่างดังนี้

RED OAK : บำรุงสายตา บำรุงเส้นผม บำรุงประสาทและกล้ามเนื้อบำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคปากนกกระจอก ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ให้เส้นใยอาหาร ขจัดอนุมูลอิสระ ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลง

GREEN OAK : บำรุงสายตา บำรุงเส้นผม บำรุงประสาทและกล้ามเนื้อบำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคปากนกกระจอก ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ให้เส้นใยอาหาร ขจัดอนุมูลอิสระ ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลง ป้องกันโรคหวัด

BUTTER HEAD : บำรุงสายตา
บำรุงเส้นผม บำรุงประสาทและกล้ามเนื้อ
บำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคปากนกกระจอก
ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ให้เส้นใยอาหาร
ขจัดอนุมูลอิสระ ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลง
ลดคอเรสเตอรอล

ICE BURG : บำรุงสายตา บำรุงเส้นผม
บำรุงประสาทและกล้ามเนื้อ บำรุงผิวพรรณ
ป้องกันโรคปากนกกระจอก ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด
ให้เส้นใยอาหาร ขจัดอนุมูลอิสระ ปลอดภัยจาก
ยาฆ่าแมลง ป้องกันโรคหวัด เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

COS : บำรุงสายตา บำรุงเส้นผม
บำรุงประสาทและกล้ามเนื้อ บำรุงผิวพรรณ
ป้องกันโรคปากนกกระจอก ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ให้เส้นใยอาหาร ขจัดอนุมูลอิสระ ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลงป้องกันโรคโลหิตจาง
ช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง

ผักกาดขาวไดโตเกียว (Brassica chinensis var.Pekinensis Rupr.)
มีกรดโฟลิก ช่วยการพัฒนาเนื้อเยื่อ และสังเคราะห์ DNA ดีกับหญิงมีครรภ์ นอกจากนี้ยังมีแคลเซียมสูง สร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง สามารถรับประทานสด ใส่ต้มจืด ผัดน้ำมันหอย หรือใส่สุกี้

ผักบุ้งจีน (Water Convolvulus)
มีแคลเซียมบำรุงเลือด ฟอสฟอรัสช่วยบำรุงกระดูก
และฟัน ธาตุเหล็กช่วยบำรุงเลือด มีเยื่อใยช่วยในการขับถ่าย
มีฤทธิ์เย็นแก้ร้อนใน รับประทานสดกับลาบ ส้มตำ จิ้มน้ำพริก หรือผัดกับกระเทียม และเครื่องปรุงอื่นๆ

กวางตุ้งโชว์จีน E (Flowering cabbage) C (Choy Sam)
มีกรดโฟลิก ช่วยการพัฒนาเนื้อเยื่อ และสังเคราะห์ DNA ดีกับหญิงมีครรภ์ นอกจากนี้ยังมีแคลเซียมสูง สร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง รับประทานเป็นแกงจืด ผัดน้ำมันหอย ใส่สุกี้ หรือต้มจับฉ่าย

คะน้า (CHINESE KALE)
คะน้ามีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เมื่อร่างกายเปลี่ยนเบต้าแคโรทีน เราเป็นวิตามินเอจะช่วยบำรุงสายตา ใบคะน้ามีแคลเซียมสูง ร่างกายสามารถดูดซึมได้ไม่น้อยไปกว่าแคลเซียมจากนม คะน้าวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด
เช่น วิตามินซี แคลเซียม และฟอสฟอรัส เป็นต้น ป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบและโรคกระดูกบาง

ปวยเล้ง (SPINACH) ปวยเล้งเป็นผักสุขภาพชั้นแนวหน้าอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยบำรุงสายตา และทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง มีแคลเซียมที่บำรุงกระดูกสูง และมีฟอสฟอรัสช่วยปรับระดับเลือดในร่างกายให้ไหลเวียนดี

ผักกาดแก้ว (ICEBERG LETTUCE)
ในผักกาดแก้วมีฮีโมโกลบิน (Haemoglobin) ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันและต้านมะเร็ง ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก มีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อนๆ เป็นผักที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผักกาดหอม (LETTUCE) ผักกาดหอมอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา และยัง
มีวิตามินซีบำรุงกระดูกและฟันอีกด้วย

ผักโขม (AMARANTH) ผักโขมอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญคือ มีสารเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ในเมล็ดของผักโขม เป็นแหล่งรวมของโปรตีน แคลเซียม เหล็ก และวิตามินซี

คุณค่าประโยชน์จากการปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน

บทบาทแร่ธาตุอาหารในพืชที่มีต่อร่างกายของผู้บริโภค

ในร่างกายของเรามีความจำเป็นต้องการธาตุอาหารเช่นเดียวกับพืช ซึ่งเราเรียกว่า เกลือแร่
หรือแร่ธาตุ ที่เราได้รับทุกวันคือ ออกซิเจน ซึ่งได้รับจากการดื่มน้ำและหายใจทุกวัน ธาตุ 2 ตัวนี้ จะ
เกี่ยวกับกระบวนการเผาผลาญไขมัน แป้ง โปรตีน และสารอาหารที่เรากินเข้าไป ส่วนธาตุตัวอื่น เช่นคาร์บอน ไนโตรเจน แคลเซียม แมงกานีส โคบอลต์ สังกะสี คลอรีน ไอโอดีน โซเดียม โมลิบดินัม นิเกิล
ซิลิเนียม ซิลิคอน วาเนเนียม อาสินิก โครเมียม ฟลูออไรด์ และเหล็กก็ได้ จากที่เราบริโภคอาหารในแต่ละวัน การบริโภคผักที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินจะได้รับปริมาณธาตุอาหารต่าง ๆ บางชนิด

ซึ่งเราได้ให้ธาตุเหล่านี้ แก่พืชในสารละลายในปริมาณเพียงพอที่พืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโต และเมื่อเราบริโภคพืชปริมาณธาตุอาหารก็จะถูกสะสมมาไว้ในร่างกายของคน ตัวอย่างเช่น ในผู้ชายที่มีน้ำหนักตัว 70 กิโลกรัม จะมีปริมาณธาตุอาหารสะสมแต่ละตัว
ส่วนปริมาณธาตุไนโตรเจนไม่แสดงไว้ในตารางเนื่องจากร่างกายเรานำไปสะสมอยู่ในรูปกรดอะมิโน หรือโปรตีนซึ่งจะขออธิบายบทบาทธาตุแต่ละตัวที่มีต่อประโยชน์ของร่างกายของเรา ดังนี้

ธาตุคาร์บอน (C) บทบาทในการสร้างพลังงานให้กับร่างกาย
ธาตุไนโตรเจน (N) เป็นองค์ประกอบหลักของโครงสร้างโปรตีนในร่างกาย
ธาตุฟอสฟอรัส (P) มีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยทั่วไป
จะเข้าใจว่าธาตุฟอสฟอรัส มีบทบาทต่อการซ่อมบำรุงสมองจึงมีการบริโภคทาง
อาหารเสริมซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยปกติร่างกายต้องการ
เพียงร้อยละ 1 ของน้ำหนักตัวเท่านั้น
ธาตุโพแทสเซียม (K) มีบทบาทในการรักษาประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อให้ทำงานปกติ
หากขาดจะทำให้ระบบเส้นประสาทสั่งงานผิดปกติได้
ธาตุแคลเซียม (Ca) มีบทบาทในด้านโครงสร้างกระดูกและฟัน และบางส่วนในโลหิต
ธาตุกำมะถัน (S) หากขาดทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายช้าลง
ธาตุเหล็ก (Fe) มีบทบาทสำคัญต่อเม็ดโลหิตแดง ซึ่งมีหน้าที่นำออกซิเจนไปให้เม็ดเลือดทำให้
เซลล์มีการหายใจสะดวก หากมีไม่เพียงพอทำให้เป็นโรคโลหิตจาง
ธาตุทองแดง (Cu) มีบทบาทในการช่วยระบบการหายใจ เป็นตัวกระตุ้นให้เม็ดโลหิตแดง
เจริญเติบโต
หากขาดธาตุทองแดงอาจเป็นสาเหตุโรคโลหิตจางเช่นเดียวกับขาดธาตุเหล็ก
ธาตุแมกนีเซียม (Mg) มีบทบาทในการทำให้เส้นประสาทมีความมั่งคง และช่วยในระบบย่อยอาหาร
ธาตุแมงกานีส (Mn) มีบทบาทที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ตามปกติ
ธาตุโคบอลต์ (Co) มีบทบาทช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ หากขาดทำให้ผิวหนัง
เกิดเป็นเกล็ดกล้ามเนื้อหย่อนยาน
ธาตุสังกะสี (Zn) มีบทบาททำให้ร่างกายมีการเจริญได้ตามปกติ เส้นผมมีสุขภาพดี ในกรณีร่างกายได้รับไม่เพียงพอ ทำให้ลำใส้ดูดซับธาตุอาหารได้ไม่ดี
ธาตุคลอรีน (Cl) มีบทบาทในการควบคุมโลหิต ช่วยในระบบการย่อย ทำให้ระบบหัวใจ
ทำงานเป็นปกติ
ธาตุไอโอดีน (I) มีบทบาทต่อการทำงานของต่อมไธรอยด์ หากขาดทำให้เป็นโรคคอพอก

ข้อเด่น และข้อด้อย

ข้อเด่นและข้อด้อย ในการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน

ข้อเด่น

1. สามารถปลูกพืชได้ทุกที่ที่มีสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม
เช่น ตามระเบียงอาคารและพื้นที่ ที่ไม่สามารถปลูก
พืชทางดินได้ เช่น ดินเค็ม
2. ประหยัดพื้นที่ปลูกโดยกำหนดระยะปลูกในระยะชิด
ได้ตามที่เราออกแบบไว้
3. สามารถดูแลได้ทั่วถึงเรื่องจากมีการสร้างระบบที่ง่าย
ต่อการควบคุมและสามารถป้องกันโรคและแมลง
หรือศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
4. ไม่มีปัญหาในการกำจัดวัชพืชในพื้นที่ปลูก
5. ไม่ต้องเตรียมพื้นที่ปลูกโดยไถพรวน สามารถลด
การทำลายหรือการชะล้างหน้าดิน
6. ประหยัดน้ำ และปุ๋ย เพราะสามารถควบคุมได้ตามที่
ต้นพืชต้องการ
7. มีผลผลิตสม่ำเสมอและอายุเก็บเกี่ยวเร็วขึ้นเนื่องจาก
พืชสามารถนำธาตุอาหารไปใช้อย่างสม่ำเสมอ
8. ผลผลิตมีความสะอาด สด คุณภาพดี
9. เด็ก ผู้หญิง คนชรา คนพิการ สามารถทำได้
10. สามารถนำไปปลูกบนเรือนเดินสมุทรหรือ
บนดาวเทียมได้

ข้อด้อย

1. ในทางปฏิบัติอาจทำได้ไม่กว้างขวางเนื่องจาก
ปัจจุบันยังอาศัยเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
2. ผู้ปลูกต้องมีความรู้อย่างแท้จริงต่อพืชที่ปลูกและ
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหาร น้ำ ต้นพืช
3. ความหลากหลายของพืชที่ปลูกแบบไม่ใช้ดินยังมี
น้อยในบ้านเรา
4. ปัญหาพื้นที่ที่มีพายุต้องมีการสร้างโรงเรือน
ป้องกันลม กรณีถ้ามีลมพัดแรงมากจำเป็นต้องมี
การค้ำยัน เนื่องจากการยึดต้นของรากไม่แข็งแรง
เช่นเดียวกับการปลูกลงดิน
5. เงินลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูง
6. ปัญหาในด้านการตลาดยังไม่กว้าง เนื่องจากเป็น
การปลูกผักต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่และใน
ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคยังจำกัดอาจทำให้เกิดปัญหา
ด้านการตลาดที่ทำให้ราคาลดลงเรื่อย ๆ

Hydroponics มาจาก

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน มาจากรากคำภาษาอังกฤษว่า Soilless Culture ซึ่งหมายถึง การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินมาเป็นพื้นที่ปลูก ซึ่งหลายท่านอาจแปลกใจเมื่อได้ยินคำนี้ และหลายท่านเริ่มมีความคิดแย้งว่าไปทำให้ยุ่งยากทำไมในเมื่อประเทศไทยเรายังมีพื้นที่รกร้างอีกมากมาย แต่ถ้ามองอีกด้านหนึ่งในแบบนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่ดินในปัจจุบันของเราที่ใช้ในการเกษตรน่าจะฟื้นฟูให้เป็นพื้นที่ป่า เพราะตอนนี้ป่าไม้มีไม่ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยแล้ว จึงมีผลให้ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงไปมากมาย ในปัจจุบันการหันมาที่การปลูกพืชที่รบกวนพื้นที่ดินให้น้อยที่สุดเป็นสิ่งที่ควรที่จะมาสนใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการปลูกพืชไม่ใช้ดินเป็นความหมายที่กว้างโดยรู้จักกันมากคือ การปลูกพืชในสารละลายที่ตรงกับภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Hydroponics โดยมีรากศัพท์จากภาษากรีก 2 คำ คือ Hydro (water) แปลว่า น้ำ Ponous (working) แปลว่า ทำงาน จึงเรียกร่วมว่า Hydroponics ในปัจจุบัน ซึ่งหมายถึง การทำงานเกี่ยวกับน้ำนอกจากนี้ การปลูกไม่ใช้ดินอาจปลูกโดยให้รากลอยในอากาศ (Aeroponics) พืชปลูกในวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น แกลบ ทราย เปลือกไม้ ขุยมะพร้าว หรือแม้แต่วัสดุที่เหลือใช้ เช่น โฟมหรือกระดาษที่ไม่มีสารพิษตกค้างกับพืชที่จะส่งผลต่อผู้บริโภคต่อไปก็มาใช้ปลูกได้
ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนพื้นที่ทางการเกษตรและพื้นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงควรมีแนวทางวิธีการเพาะปลูกพืชแบบอื่น ๆ โดยเฉพาะวิธีการปลูกแบบไม่ใช้ดินมาเป็นทางเลือกหนึ่งของเรา เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพืชผักให้มีเพียงพอ และมีคุณภาพสูงมาบริโภคเอง หรือดำเนินการผลิตในเชิงธุรกิจต่อไป