Tuesday, 6 April 2010

Hydroponic Lettuce

Video results for hydroponics

Hydroponic Lettuce
4 min 43 sec - 30 Dec 2006
www.youtube.com

Saturday, 3 April 2010

Thursday, 1 April 2010

News International

The Franken veg factory: UK scientists will soon be artificially growing millions of lettuces that'll never see the sun, rain or soil


By Joanna Blythman

Last updated at 7:51 AM on 05th June 2009

Comments (1) Add to My Stories



Close your eyes and think of the perfect summer tomato and you probably imagine a lusciously plump fruit, grown on the vine, its skin ripening an ever deeper red under the hot summer sun. It could be growing on an allotment, or in a greenhouse or market garden - it doesn't really matter.

What matters is that it's been grown slowly at its own natural pace, with real care and horticultural skill and that when you bite into it, it will have the perfect balance between acid and sweet and be bursting with flavour.

Ask our children to do the same thing in 20 years time and the outcome may be nothing like as alluring. For the next generation, the perfect tomato won't be grown on carefully tended soils or in pots of lovingly blended compost.



Test tube baby lettuce: This factory in Tokyo can churn out vegetables 24 hours a day, seven days a week

Instead, tomatoes - and a host of other salad crops, such as cucumbers, peppers and lettuce - will be grown on racks, in vast climate-controlled greenhouses; their roots supported, not by soil, but by an artificial soil substitute, or substrate, and bathed in a chemical cocktail designed to get the product to the supermarket shelves in the shortest possible time.

These plants will never see the summer sun; their roots will never absorb the minerals and complex micro-nutrients washed down by the latest passing shower.



The end result will still be red, plump and shiny, but bite into it and I can guarantee that it will taste of precious little.

The Germans call these factory-farmed tomatoes Wasserbomben, or water-bombs. Don't laugh. If the trend to ever larger glasshouses continues, they may be the only sort future generations can buy.

Of course, there's nothing new about tasteless supermarket tomatoes, you might say, but that's what makes this week's headlines so alarming.

Ripe for eating: Britain's are just starting to enjoy seasonal produce such as tasty tomatoes

Because just as British consumers have finally been rediscovering the delights of fresh seasonal produce with real taste, along come newspaper reports that are the stuff of horticultural nightmare - a Japanese lettuce factory that can churn out immaculate looking lettuces 24 hours a day, seven days a week, 52 weeks a year.

I'm not sure which was the more depressing - the picture of racks of lettuces stacked eight high, illuminated by artificial sunlight, grown at a constant temperature and tended by a technician wearing a full body-suit and face-mask, or the report. Because, apparently, this is the future of vegetable, and some fruit, farming.

According to the article, lettuces, and other green-leaved vegetables, can be cropped up to 20 times a year and are cultivated in such sterile conditions that they require neither pesticides nor, indeed, washing before use. Some of these so-called plant factories are producing up to three million vegetables a year.

In Japan, the produce from these plant factories sells for premium prices, but I'm both depressed and alarmed by their very existence. I don't want my fruit and veg to be grown in perfectly sterile, airtight conditions; I want it to grow in a way that reflects the environment around it - the soil type, the local weather, the passing of the seasons.

If I buy a Little Gem lettuce in Dorset in June, I enjoy that it tastes subtly different from the Little Gem lettuce I buy in Yorkshire in July.



Or indeed, the one I buy in Lincolnshire in August. The same goes for the fresh English asparagus I'm so enjoying at the moment. Right now, it's close to perfection, but in a few short weeks its season will have passed.

For me, and in the past few years many others, that's exactly how it should be: we enjoy a locally grown crop, while it's at its very best, and then move on, safe in the knowledge that it will be ripe and back in season at the same time next year.

I don't want to be able to buy every horticultural crop on the planet, 365 days a year.

I find the ever-changing seasonality and inherent variation of fresh produce exciting and stimulating; very much part of the pleasure of being alive and part of a natural world. But that counts for nothing in the eyes of the giant, multinational corporations that now seek to control the future of vegetable farming through uniform technoveg.

They don't want to work with Mother Nature; they want to make her redundant. They want to replace the sun with artificial heat and light and abandon soil for the sort of materials you might use to insulate your loft.

Be under no illusion; the gargantuan plant factories aren't just found in Japan. Practically all commercial tomato crops in Britain are already produced under glass, but the scale of this production is about to be transformed dramatically.

For over a year, a vast glasshouse complex has been under construction over 220 acres of land that used to be a cauliflower farm in Kent.



Glasshouse food: Thanet Earth in Kent uses hydroponic cultivation techniques to grow vegetables such as tomatoes, peppers and cucumbers

Known as Thanet Earth and already in production, the seven huge greenhouses, when fully completed, will cover an area the size of 80 football pitches and, using similar high-tech production to those in Japan, and will increase the homegrown production of UK salad crops by an estimated 15 per cent.



Peppers and cucumbers will be grown from February to October, while tomatoes will be produced 52 weeks a year. That's not so much extending the growing season of a crop, as traditional glasshouse growers have done for many years; it's removing seasonality altogether.

Just like the plant factories in Japan, ultra-modern glasshouse complexes like Thanet Earth will use so-called hydroponic cultivation techniques. This means the tomatoes, peppers and cucumbers being grown there will never touch the Kent soil at all.

Instead, they will be grown in trays filled with an artificial soil substrate - fibreglass-like Rockwool, granules of volcanic glass or clay pebbles are often used - and with the roots of the plant bathed in a carefully controlled nutrient solution that not only waters the plant but fertilises it, too.

But take away soil and you discard centuries of knowledge that go to the very heart of what horticulture and agriculture are all about.



Carefully controlled: A Thanet Earth worker tends to plants, which have their roots bathed in a nutrient solution

Good growers take the greatest possible care of their soil - they till it, improve it and either rotate the crops on it or rest it altogether for a season. Expert soil husbandry like this has always produced not just the best tasting crops, but the most nutritious, too.

Abandon this time-honoured skill and you're handing over food production to white-coated scientists and sharp-suited economists, men and women dedicated to just one thing - getting the maximum amount of a standardised crop on to the supermarket shelves in the shortest possible time.

We can only begin to guess what the associated costs might be. On the human health front, we are walking into this with our eyes shut. Almost no research has been carried out comparing levels of vitamins and vital micro-nutrients in plants grown in soil versus those grown by high-tech methods.

There are environmental dangers, too. The substrate which hydroponic plants grow on is normally disposed of with each crop rotation, which, given both the speed and scale of these plant factories, is likely to produce a huge mountain of almost-impossible-to-recycle waste.



Astonishing: Thanet Earth is the size of 80 football pitches, capable of growing millions of tomatoes without soil

Then there is the massive drain that these vast plant factories place on local water resources. Of course, they can collect water from their hanger- sized roofs and use local bore holes, but this is all water that, had the greenhouses not been there, would have percolated into the soil and maintained the local water table.

Nor, once it's been mixed with the mineral fertilisers, can excess water be returned to local water courses. It has to be recycled within the glasshouse itself. Not surprisingly, each of the seven glasshouses at Thanet Earth has its own reservoir, but you do wonder what might happen if a long hot summer drought produced water shortages?

Then there's the huge demand for power that these plant factories require - both for heating and supplementary artificial light.

At Thanet Earth, they've built so much generating capacity that they can actually export power to the National Grid during slack times, but that power is still being derived from a carbon fuel - gas, in this case - so we can be pretty certain of one thing. The giant plant factories of the near future will leave a correspondingly huge carbon footprint.

One of the selling pitches for these super-sized glass-houses is that they can reduce pesticide use.

Indeed, in Japan, much is made of the carefully-monitored sterile environment which means that no pesticides need to be used.

But all that is doing is echoing what organic farmers in this country have been doing for years, using traditional techniques and with far less impact on the environment.

And nor are these supposedly super-hygienic, germ-free environments ever quite as germ free as they are made out to be.

If their bio-security systems are breached, entire crops could be wiped out by a single disease or pest or tainted by a pathogenic bacterium.

In the U.S., crops of hydroponically grown alfalfa sprouts, across several states and from different growers, have already had to be withdrawn this year because they were found to be contaminated with salmonella.

A foretaste of such crops' worrying food poisoning potential, perhaps?

I know what kind of fruit and vegetable future I want to savour. That's a natural diversity of local, seasonal produce, preferably grown organically, and at the moment I have no trouble getting hold of it.

But will my children and my children's children be so fortunate? The super-sized plant factories of the future are already here and unless we challenge them they will grow bigger and more numerous each year.

In 20 years' time, I hope I'm still washing the soil off my summer lettuce but, with hydroponics now threatening to arrive on an industrial scale, it could be a close run thing.







Read more: http://www.dailymail.co.uk/femail/food/article-1190978/The-Franken-veg-factory-UK-scientists-soon-artificially-growing-millions-lettuces-thatll-sun-rain-soil.html#ixzz0jr4SwOtF

Monday, 9 November 2009

การปลูกพืช Hydroponics

  •  ฝนตก
ช่วงเพาะต้นกล้าจะต้องวางถ้วยเพาะบริเวณที่มีแสงแดด และพลาสติกคลุมด้านบนเพื่อป้องกันน้ำฝน
ช่วงต้นกล้าอยู่ในรางปลูก เมื่อมีฝนตกหรือลมจะต้องการมุ้ง หรือให้สแลนคลุมเพื่อลดแรงตกกระทบของน้ำฝน ทำให้ใบผักไม่ช้ำ
หากฝนตกปริมาณน้ำในถังน้ำจะเพิ่มขึ้น สารอาหารจะเจือจางลา ให้ใช้ EC วัดค่าความเข้มข้นของสารละลาย และเติมสารอาหาร A และ B ชนิดละเท่ากัน
  • ไฟฟ้าดับ
หากเกิดไฟฟ้าดับเป็นเวลานาน (เกินครึ่งชั่วโมง) ให้หนุนขาตั้งด้านที่ต่ำให้สูงกว่าด้านที่สูง (หัวราง) เล็กน้ยอ ตักสารละลายในถังเทลงในรางปลูก เพื่อไม่ให้รากพืชแห้ง
  • แสงแดด
กรณีพื้นที่วางโต๊ะวางปลูกมีต้นไม้บัง แสงไม่พอให้ถอดมุ้งที่กางออก เพื่อเพิ่มการรับแสงได้เต็มที่ เนื่องจากพืชตระกูลสลัด (Luttuce) เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีแสงแดดอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง
  • ค่าความเป็นกรด-ด่าง
ระดับค่าความเป็นกรดและด่างที่เหมาะสมสำหรับพืชแต่ละชนิดอาจจะแตกต่างกันไป ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการดูดซึมสารอาหารของพืชสำหรับผักสลัด (Lettuce) ระดับ pH ที่เหมาะสม คือ 5.5-6.5
  • การเก็บผักในราง
ผักจะมีอายุการเก็บอยู่ที่ 45 วัน นับตั้งแต่เพราะเมล็ด ให้เก็บผักยกรางเพราะจะไม่มีเศาของรากพืชตกค้างอยู่ในราง (เศษรากพืชเมื่อเน่าจะทำให้คุณภาพน้ำเสีย) และสามารถทำความสะอาดรางปลูกได้ง่าย
  • การทำความสะอาดรางปลูก
นำสายยางมาฉีดรางเพื่อให้เศษรากพืช ใบผัก และตะไคร่น้ำไหลออกจากราง ใช้แปรงล้างขวดนม แปรงขัดห้องน้ำมาถูร่องในรางในสะอาดรวมทั้งคราบตะไคร้สีเขียวให้หมดไปเพราะตะไคร่จะเป็นตัวแย่งสารอาหารจากรากพืช เมื่อทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วจึงนำต้นกล้าชุดใหม่ลงปลูกในราง (ควรเลือกวันเก็บผักและล้างรางให้ตรงกับวันที่ต้องเปลี่ยนน้ำประจำอาทิตย์เพราะจะทำให้ประหยัดน้ำและสารอาหาร
  • การเก็บรักษาผักเพื่อรับประทาน
เด็ดใบออกจากกัน
แช่ในอ่างน้ำเย็นและทำความสะอาด
ผึ่งผักให้แห้ง
นำผักเก็บในถุงพลาสติกพร้อมทั้งปิดปากถุงให้สนิท
เก็บในตู้เย็นช่องแช่ผัก สามารถเก็บผักได้ 5-7 วัน
  • การทำความสะอาดอุปกรณ์
  1. ปั๊มน้ำควรมีการทำความสะอาดปั๊มน้ำพร้อมกับการล้างรางปลูก เนื่องจากจะมีเศษตะกอนและตะไคร่น้ำเกาะอยู่บริเวณไส้กรองปั๊มน้ำ ดังนั้นให้ถอดฝาครอบไส้กรองออก และนำไส้กรองมาล้างทำความสะอาด
  2. EC หรือ pH Meter เมื่อใช้เสร็จจะต้องปิดเครื่องทุกครั้ง เพื่อยืดอายุการใช้งานของถ่านหลังจากการใช้ทุกครั้ง จะต้องทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด และใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง ถ้าเป็น pH Meter ให้หยอดน้ำที่โฟมบริเวณฝาของเครื่องมือ เพื่อให้แท่งแก้วชื้นตลอด และก่อนใช้เครื่องมือควรจุ่ม EC หรือ pH Meter ในน้ำสะอาดก่อนประมาณ 5 นาทีเพื่อปรับค่าก่อนใช้งาน อย่างไรก็ตามควรมีการ Calibrate เครื่องวัดด้วยอย่างน้อยเดือนละครั้งเพื่อให้ค่าที่อ่านได้ถูกต้องแน่นอน (การ Calibrate คือ การปรับเครื่องมือวัดค่าได้มาตรฐานเที่ยงตรง)

การเพาะต้นกล้า และการปลูกลงราง

1. นำวัสดุปลู (Perlite และ Vemiculite) รดน้ำให้เปียกและใส่ถ้วยเพาะ ซึ่งอาจจะใส่เต็มถ้วย หรือครึ่งถ้วยก็ได้ (วัสดุปลูก คือส่วนที่พยุงลำต้น) กรณีถ้าใส่แค่ครึ่งถ้วยเมื่อผักโต ในระดับหนึ่งควรเติมวัสดุปลูกช่วยพยุงผักไม่ให้ผักล้ม จากนั้นหาภาชนะมาวางใต้ถ้วยเพาะ และใส่น้ำสะอาดที่ก้นภาชนะความสูงประมาณ 1 ซม. เพื่อให้วัสดุปลูกมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา
2. เมือวัสดุปลูมีความชื้นแล้ว นำเมล็ดพันธุ์ใส่ตรงกลางถ้วยลึกประมาณ 1 ซม. กลบด้วยวัสดุปลูกแค่พอปิดเมล็ดไม่ให้ปลิว และใช้กระบอกฉีดน้ำแบบฝอยพ่นด้านบน เช้าเย็นทุกวันและให้เก็บไว้ในที่มืดไม่มีแสงเข้า 48 ชั่วโมง
3. วันที่ 3 ให้นำมาวางในตำแหน่งที่มีแสงแดดรำไร เมล็ดจะเริ่มงอก ถ้าหากโต๊ะปลูกว่างก็ให้นำลงรางได้เลย
4. ถ้าเกินกว่า 5 วัน แสดงว่าเมล็ดไม่งอกให้เพาะใหม่
5. เมื่อเมล็ดงอกใบที่ 3 ออกมา เริ่มให้สารละลายอ่อน ๆ แก่พืชแทนน้ำสะอาด
6. การผสมสารอาหารสำหรับต้นอ่อนตามขั้นตอนดังนี้

  • นำน้ำสะอาดมาวัดค่า pH (กรด-ด่างของน้ำ) โดยใช้น้ำยา pH Drop Test หรือ pH Meter และปรับให้อยู่ในช่วง 5.5 เพื่อให้การดูดอาหารของพืชเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ค่า pH สูงกว่ากำหนด ต้องปรับโดยเติมกรดฟอสฟอริก , กรดไนตริก (pH Down)
  • ค่า pH ต่ำกว่ากำหนด ต้องปรับโดยเติมโปตัสเซียมไฮดรออกไซด์ (pH Up)
  • ปริมาณสารที่ใช้ปรับค่า pH ใส่ในปริมาณ 2-3 หยด
  • เติมสารอาหารของพืช (Nutrient) A และ B อย่างละ 1 มิลลิเมตร หรือ 1 cc/ น้ำ 1 ลิตร ลงในถาด และใช้ EC Meter ( Electrical Conductivity) วัดค่าความเข้มข้นของสารละลายให้อยู่ที่ค่า 0.8 สำหรับผักสลัด สำหรับผักไทย ผักจีน และผักญี่ปุ่นให้อยู่ที่ค่า 2.2
  • ควรเปลี่ยนน้ำทุกอาทิตย์ หรือเมื่อเกิดตะไคร่น้ำ
  • เมื่อต้นกล้าอายุครบ 2 อาทิตย์ ยกต้นกล้ามาลงรางชุดโต๊ะปลูก (ถ้าโต๊ะปลูกว่างอยู่สามารถลงได้ก่อน 2 อาทิตย์ได้เลย)

การปลูกลงราง

  •  เติมน้ำประมาณเกือบเต็มถังหรือประมาณ 40 ลิตร
  • เติมสารอาหารของพืช A และ B ชนิดละ 3 cc หรือ มิลลิลิตร (ml) / น้ำ 1 ลิตร ผสมลงในถังน้ำ (หรือประมาณ 80 cc หรือมิลลิลิตร (ml) ต่อน้ำ 1 ถัง
  • ดำเนินการวัดค่าความเข้มข้นของสารอาหาร (EC/ CF) และความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 
 EC (ความเข้มข้นของสารอาหาร) โดยใช้เครื่องมือวัดค่า EC Meter/CF Meter
  • ผักสลัด  ค่า EC อยู่ระหว่าง 1.2 - 1.4
  • ผักไทย ผักจีน ผักญี่ปุ่น ค่า EC อยู่ระหว่าง 2.2 - 2.4
หมายเหตุ กรณี EC สูงกว่าที่กำหนดให้ปรับโดยการเพิ่มน้ำเพื่อลดความเข้มข้น
                  กรณี EC ต่ำกว่าที่กำหนดให้ปรับโดยการเพื่มสารอาหารของพืชเพิ่มขึ้น
PH (ความเป็นกรด เป็นด่าง) โดยใช้เครื่องมือ pH Meter หรือ pH Drop Test วัดค่า pH ให้อยู่เสในช่วง 5.5
  • เสียบปลั๊กไฟเพื่อเดินเครื่องปั๊มน้ำ
  • ยกต้นกล้าจากถาดเพาะวางลงรางปลูก โดยบริเวณที่ตั้งรางควารมีแสงแดดส่องถึงอย่างน้อย 6-8 ช.ม/ วั เพื่อให้ผักมีสีสวยยิ่งขึ้นและสวยงาม
  • วัดและปรับค่า EC และ pH ทุก ๆ  วัน ให้อยู่ในช่วงอัตราที่กำหนดให้
  • เปลี่ยนน้ำในถังประมาณอาทิตย์ละครั้ง ปิดปั๊มน้ำ เทสารอาหารที่เหลือออก (สามารถนำไปรดน้ำต้นไม้ได้ และทำความสะอาดถังให้สะอาด
  • ระยะเวลาการปลูกผักสลัด ประมาณ 40-45 วัน นับจากวันเพาะเมล็ดก็สามารถเก็บรับประทานได้

การเตรียมพื้นที่ปลูก

  • โต๊ะปลูก วางให้ได้รับแสงแดดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง/วัน ยิ่งเป็นแสงแดดตอนเช้า
  • ไม่ควรวางไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ จะบังแสงแดด ทำให้ผักยืด
  • และใกล้ปลั๊กเสียบไฟ มีกล่องไฟสวม เพื่อระวังน้ำฝน ต้องเสียบปั๊มน้ำตลอดเวลา 
  • ระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายโต๊ะปลูก
  • พื้นที่สำหรับวางโต๊ะปลูกควรจะเป็นแนวราบ เนื่องจากโต๊ะปลูกได้กำหนดระดับความลาดเอียงด้วยความสูงของขาโต๊ะเรียบร้อยแล้ว

Friday, 23 October 2009

สัมมนาวิชาการและปฏิบัติ

สัมมนาวิชาการและการปฏิบัติ


ขอเชิญเข้าร่วม สัมนาวิชาการและปฏิบัติพร้อมอุปกรณ์สาธิตการปลูกผักไร้ดิน hydroponics SMEs

สำหรับบุคคลทั่วไป และฟาร์มขนาดกลาง-ขนาดใหญ่ หรือเพื่อประกอบธุรกิจเชิงพานิชย์

เรียนรู้การปลูก การจัดการ ระบบ ขั้นตอน การปลูกพืชไรดิน สภาพแวดล้อมภายใน-ภายนอก
และวิเคราะห์การลงทุน การจัดการปลูกพืช ตลาดผักสุขภาพทั้งใน-ต่างประเทศ

ค่าสัมมนาและอุปกรณ์ชุดปลูกผักสาธิต 1 ชุด
เป็นจำนวนเงิน 1,900 บาท

เรียนท่านผู้สนใจ กรุณาติดต่อ Tel 081-3732955
www.itmstrade.com
http://pakhydro.blogspot.com
http://HydroponicsSME.blogspot.com

สำนักงานสาธิตในกรุงเทพ
222-222/1 ม.9 ซ. แบริ่ง ถ. สุขุมวิท 107 ต. สำโรงเหนือ อ. เมือง จ. สมุทรปราการ 10270

ประจำปี 2552

วันเสาร์ 6 มิถุนายน 2552
วันเสาร์ 4 กรกฏาคม 2552
วันเสาร์ 1 สิงหาคม 2552
วันเสาร์ 5 กันยายน 2552
วันเสาร์ 3 ตุลาคม 2552
วันเสาร์ 7 พฤศจิกายน 2552
วันเสาร์ 5 ธันวาคม 2552

วันอาทิตย์ 21 มิถุนายน 2552
วันอาทิตย์ 19 กรกฎาคม 2552
วันอาทิตย์ 16 สิงหาคม 2552
วันอาทิตย์ 13 กันยายน 2552
วันอาทิตย์ 18 ตุลาคม 2552
วันอาทิตย์ 15 พฤศจิกายน 2552
วันอาทิตย์ 13 ธันวาคม 2552

13:00 ลงทะเบียน
13:00-15:00 วิชาการการปลูกพืชไร้ดิน Hydroponics โดยนักวิชาการโดยตรง
ให้ความรู้ระบบปลูกพืชไรดิน กระบวนการเจริญเติบโตของพืช
การจัดการสิ่งแวดล้อมภายใน และภายนอก
15:00-17:00 ปฏิบัติการปลูกไร้ดิน และชมแปลงสาธิต การทำตลาด และวิเคราะห์การลงทุน

รับอาหารว่าง ชา กาแฟ น้ำผลไม้ น้ำต้นข้าวสาลี และผักสลัด เสริฟตลอดการสัมมนา

เฟรนไชส์โรงเรือนสำเร็จรูป


Wednesday, 21 October 2009

Gallary


Saturday, 2 May 2009

สัมมนาวิชาการและการปฏิบัติ

ขอเชิญเข้าร่วม สัมนาวิชาการและปฏิบัติพร้อมอุปกรณ์สาธิตการปลูกผักไร้ดิน hydroponics SMEs
สำหรับบุคคลทั่วไป และฟาร์มขนาดกลาง-ขนาดใหญ่ หรือเพื่อประกอบเชิงพานิชย์
เรียนรู้การปลูก การจัดการ ระบบ ขั้นตอน การปลูกพืชไร้ดิน สภาพแวดล้อมภายใน-ภายนอก
และวิเคราะห์การลงทุน การจัดการปลูกพืช ตลาดผักสุขภาพทั้งใน-ต่างประเทศ
ค่าสัมมนาและอุปกรณ์ชุดปลูกผักสาธิต 1 ชุด เป็นจำนวนเงิน 1,900 บาท

เรียนท่านผู้สนใจ กรุณาติดต่อ สำรองที่นั่งล่วงหน้า
Booking Tel. 081-3732955 081-8386955 027105877-8
www.itmstrade.com
http://pakhydro.blogspot.com

http://HydroponicsSME.blogspot.com


สำนักงานสาธิตในกรุงเทพ
222-222/1 ม.9 ซ. แบริ่ง ถ. สุขุมวิท 107 ต. สำโรงเหนือ อ. เมือง จ. สมุทรปราการ 10270

ประจำปี 2552

วันเสาร์ 6 มิถุนายน 2552
วันเสาร์ 4 กรกฏาคม 2552
วันเสาร์ 1 สิงหาคม 2552
วันเสาร์ 5 กันยายน 2552
วันเสาร์ 3 ตุลาคม 2552 ระบบ NFT เรียนที่ปิยรมย์สปอร์ตคลับ เวลา 13:00-17:00

วันเสาร์ 7 พฤศจิกายน 2552
วันเสาร์ 5 ธันวาคม 2552

วันอาทิตย์ 21 มิถุนายน 2552
วันอาทิตย์ 19 กรกฎาคม 2552
วันอาทิตย์ 16 สิงหาคม 2552
วันอาทิตย์ 13 กันยายน 2552
วันอาทิตย์ 18 ตุลาคม 2552
วันอาทิตย์ 15 พฤศจิกายน 2552
วันอาทิตย์ 13 ธันวาคม 2552

13:00 ลงทะเบียน
13:00-15:00 วิชาการการปลูกพืชไร้ดิน Hydroponics โดยนักวิชาการโดยตรง
ให้ความรู้ระบบปลูกพืชไรดิน กระบวนการเจริญเติบโตของพืช
การจัดการสิ่งแวดล้อมภายใน และภายนอก
15:00-17:00 ปฏิบัติการปลูกไร้ดิน และชมแปลงสาธิต การทำตลาด วิเคราะห์การลงทุน

รับอาหารว่าง ชา กาแฟ น้ำผลไม้ น้ำต้นข้าวสาลี และผักสลัด เสริฟตลอดการสัมมนา

Thursday, 26 March 2009

การตรวจสอบการผลิตและจำหน่ายผักและผลไม้อนามัยในประเทศไทย

ความสำคัญ สาเหตุที่ต้องมีการตรวจสอบการผลิตและจำหน่ายผักและผลไม้อนามัยก็เพราะในปัจจุบัน มีการแข่งขันทางการค้ากันมาก ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะประเทศที่นำเข้าจะใช้มาตรการและการตรวจสอบสินค้าอย่างเข้มงวด ประกอบกับมีการจัดตั้งองค์การการค้าโลก (World Trade Organization หรือ WTO) ซึ่งมีการใช้มาตรการต่างๆ ที่เข้มงวดโดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืข (Sanitary and Phytosanitary Measures,SPS)

สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อพัฒนาระบบการผลิตพืชที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เช่น 1) มีการผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสม (Good Agricultural Practice, GAP) 2) มีระบบวิเคราะห์หาอันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องทำการควบคุม (Hazard Analysis Critical Control Point System, HACCP) ที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอันเป็นระบบมาตรฐานอาหารที่เกี่ยวกับความปลอดภัยที่ประเทศทั่วโลกยอมรับ 3) หลักการประกันคุณภาพ (Quality Assurance, QA) 4) การผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice, GMP) และ 5) ในขณะนี้สหภาพยุโรปได้เรื่มใช้กฎและระเบียบเกี่ยวกับระบบการจัดการคุณภาพด้านพืช หรือ PQMS (Plant Quality Manahement System) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลสำหรับการผลิตพืชทั่วไปอันเป็นระบบที่ประยุกต์มาจาก QA, GMP, HACCP, GAP ที่จะพิจารณาเกี่ยวกับ 1) ระบบการจัดการคุณภาพด้านการผลิต 2) ระบบการจัดการคุณภาพด้านการแยกบรรจุ 3) ระบบการจัดการคุณภาพด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับ (1)สิ่งแวดล้อม (2)ความปลอดภัยในการบริโภค

มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

นอกจากการผลิตจะต้องคำนึงถึงมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยในการผลิตสินค้าเกษตรตามที่กล่าวมาแล้ว ประเทศต่างๆ ได้ให้ความสนใจกับการอนุรักษ์มากขึ้น อาทิเช่นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate change) การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity loss) ปัญหามลภาวะและของเสีย (Pollution and waste) เป็นต้น แนวความคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีหลายรูปแบบ อาทิ การวางกฎระเบียบให้ปฏิบัติ การให้การศึกษาและข้อมูล การทำข้อตกลงพิทักษ์สิ่งแวดล้อมโดยสมัครใจ และบางครั้งใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจและการค้ามาควบคุมสิ่งแวดล้อมด้วย

มาตรการสุขอนามัย

ความสำคัญ เนื่องจากการำธุรกิจอาหารเพื่อการส่งออกจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วการบังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัย ซึ่งตามข้อตกลงทางการค้าเรื่องสินค้าเกษตรได้ยอมรับให้สินค้าเกษตรต้องปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยมีวิตถุประสงค์ให้ประเทศต่างๆ ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยฯ ความตกลงนี้ได้อนุญาตให้ประเทศสมาชิกกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยที่จำเป็นเพื่อป้องกันสุขภาพขอมนุษย์ พืชและสัตว์ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติระหว่างประเทศสมาชิกที่ดำเนินการด้วยเงื่อนไขอย่างเดียวกัน รวมทั้งสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกใช้มาตรการสุขอนามันตามมาตรฐาน แนวทางและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่กำหนดโดยองค์การระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกยังสามารถกำหนดระดับการคุ้มครองสุขอนามัยที่สูงกว่ามาตาฐานสากลได้ หากมีเหตุผลและข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้มาสนับสนุน ความตกลงนี้ยังได้กำหนดกฎระเบียบและขอบเขตของความเสี่ยงที่ยอมรับได้และระดับความเหมาะสมในการคุ้มครองด้านสุขอนามัย ประเทศสมาชิกต้องยอมรับมาตรการด้านสุขอนามัยของประเทศสมาชิกอื่นๆ แม้ว่ามาตรการจะแตกต่างกัน ถ้าหากมาตรการนั้นมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสุขอนามัยในระดับที่เหมาะสมสำหรับประเทศผู้นำเข้าและสามารถที่จะตรวจสอบได้โดยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์

มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยในการผลิตสินค้าเกษตรในปัจจุบัน กฎระเบียบการนำเข้าที่แต่ละประเทศกำหนดไว้เกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

การนำเข้าผักสดจากต่างประเทศ ต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบการนำเข้าที่แต่ละประเทศกำหนดไว้เกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสุขอนามัยของประชาชนในประเทศและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ดังนี้

1) ประเทศไทย มีกฎหมายเกี่ยวกับการนำเข้าผักสด ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507 จนถึง 2537 พืชและผลผลิตของพืชทุกชนิดที่นำเข้ามาในประเทศจะต้องผ่านการตรวจโรคและแมลงศัตรูพืชจาก เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร สำหรับผักสามารถนำเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศต้นทาง และกรมวิชาการเกษตร สำหรับผักสามารถนำเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศต้นทางและกรมวิชาการเกษตรไม่ได้ตรวจสอบสารตกค้างที่ติดมากับผักด้วย

นอกจากนี้ผลไม้สามารถนำเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศต้นทาง และกรมวิชาการเกษตรไม่ได้ตรวจสอบสารตกค้างที่ติดมากับผลไม้ด้วย ยกเว้นพืชตระกูลส้มทุกชนิด เป็นสิ่งตองห้ามนำเข้ามาในประเทศในกรณีที่มีวัตถุประสงศ์ในการนำเข้ามาเพื่อการศึกษาวิจัยต้องทำหนังสือขออนุญาตจากอธิบดีกรมวิชาการเกษตร

2) ประเทศญี่ปุ่น มีกฎระเบียบตาม Introduction to Standards Certification and other Regu lations in Japan ที่เกี่ยวกับการนำเข้าผัก/ผลไม้สด ดังนี้

(1) Plant Protection Law จะกำหนดเงื่อนไขการนำเข้า ซึ่งประกอบด้วย

-Import-prohibited items ประกาศห้ามนำเข้าผลไม้บางชนิดจากแหล่งผลิตใดแหล่งผลิตหนึ่งหรือทั้งหมดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคและแมลง (Fruits flies) โดยจะอนุญาตให้นำเข้าได้ถ้าพิสูจน์ได้ว่าสามารถกำจัดโรคและแมลงได้ทั้งหมด หรืออนุญาตให้นำเข้าได้ในรูปของผลไม้แช่แข็ง ณ ระดับอุณภูมิเท่ากับหรือต่ำกว่า-17.8 องศาเซลเซียส หรือ 0 องศาฟาเรนไฮต์

-Conditionally permitted items รัฐบาลญี่ปุ่นจะประกาศชนิดและพันธุ์ผลไม้ที่อนุญาตให้นำเข้าได้ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เช่น ต้องผ่านกรรมวิธีกำจัดแมลงตามที่รัฐบาบญี่ปุ่นเห็นชอบ มีเอกสารรับรองปลอดศัตรูพืชจากรัฐบาลของประเทศผู้ส่งออก การบรรจุหีบห่อและการขนส่งเป็นไปตามที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนด

(2) Food Sanitation Law อาหารทุกชนิดรวมทั้งผลไม้ที่นำเข้ามาในประเทศต้องแจ้งกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นและต้องมีใบรับรองการตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาลประเทศผู้ส่งออกหรือสถาบันที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยต้องผ่านการตรวจสอบสารตกค้างที่ติดมากับผลไม้จากเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นด้วย

3) ประเทศในสหภาพยุโรป ตามกฎระเบียบขอบสหภาพยุโรปเกี่ยวกับปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ในผักและผลไม้และผลิตภัณฑ์ที่มีจากพืชบางชนิดนั้น สหภาพยุโรปออก Council Directive 90/642/EEC ในปี 1990 เพื่อควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างทั้งภายในและผิวนอกของผลิตภัณฑ์จากพืชรวมทั้งผักและผลไม้เป็นการกำหนดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมี โดยยังไม่ได้กำหนดของสารเคมีและปริมาณสูงสุดของสารตกค้าง

ในปี 1993 และ 1994 ได้ออก Council Directive 93/58/EEC และ Council Directive 94/30/EC เพื่อปรับปรุง Council Directive 90/642/EEC โดยกำหนดรายชื่อสารเคมี และปริมาณสูงสุดของสารตกค้าง

4) ประเทศแคนาดา กฎระเบียบด้านสุขอนามัยของแคนาดาคือผักและผลไม้สดที่นำเข้ามาในประเทศจะต้องผ่านการตรวจสอบสารเคมีปราบศัตรูพืช สารเคมีป้องกันและกำจักแมลงและเชื้อราจาก Food and Drug Inspection ของกระทรวงสาธารณสุขแคนาดาและต้องตรวจสอบเกี่ยวกับแมลงและโรคพืชจากกระทรวงเกษตรแคนาดา นอกจากนี้รัฐบาลแคนาดายังคำนึงความปลอดภัยของผู้บริโภคผักและผลไม้สดโดยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยไว้ดังนี้

(1) จะต้องไม่มีส่วนผสมของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือสารประกอบอื่นในผักและผลไม้ที่บริโภคดิบ ยกเว้นองุ่น

(2) ห้ามนำเข้าผลและผลไม้ที่อาบรังสี ยกเว้นมันฝรั่งและหอมใหญ่

5) ประเทศออสเตรเลีย ห้ามนำเข้าผลไม้สดจากไทยทุกชนิดนอกจากผลไม้แช่แข็งโดยผู้ส่งออกผลไม้ไปยังประเทศออสเตรเลียต้องขอคำยืนยันจากหน่วยงานรัฐบาลออสเตรเลียว่าผลไม้ชนิดใดได้รับอนุญาตให้นำเข้าได้

6) ประเทศสิงคโปร์ กำหนดปริมาณการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในการถนอมผลไม้ในระเบียบว่าด้วยอาหารปี ค.ศ. 1988 (พ.ศ.2531) โดยไม่อนุญาตให้มีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเนื้อลำไยแต่ยอมให้ตกค้างอยู่บนเปลือกได้ไม่เกิน 350 ppm

ผลกระทบจาการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช

เนื่องจาการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชโดยใช้หรือไม่ใช้ดินก็ตามจะมีผลกระทบต่อผู้ใช้คือเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

การจำแนกชนิดของสารแคมี สารแคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในปัจจุบันมีมากกว่า 100 ชนิดซึ่งสามารถจำแนกออกได้หลาย รูปแบบเช่น

การจำแนกชนิดของสารเคมีตามชนิดของศัตรูพืช คือ 1) สารป้องกันกำจัดแมลง (Insecticide) 2) สารป้องกันกำจัดวัชพืช (Herbicide) 3) สารป้องกันกำจัดโรคพืช (Fungicide) 4) สารป้องกันกำจัดไร (Accaricide) 5) สารป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอย (Nematicide) 6) สารป้องกันกำจัดหนู (Rodenticide)

ซึ่งพืชผักเป็นกลุ่มที่มีการใช้สารป้องกันกำจัดแมลง (Insecticide) มากที่สุด ดังนั้นจึงจะกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในกลุ่มนี้เป็นหลัก

การจำแนกชนิดของสารเคมีตามลักษณะการเข้าทำลายศัตรูพืช คือ

1)ประเภทกินตาย (Stomach Poison) 2) ประเภทถูกตัวตาย (Contact Poison)

3) ประเภทดูดซึม (Systemic) 4) ประเภทรมควัน (Fumigant)

การจำแนกสารป้องกันกำจัดแมลง (Insecticides) ปัจจุบันมีการจำแนกสารป้องกันกำจัดแมลงออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนคลอรีน กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มคาร์บาเมทและกลุ่มไพรีทรอยด์

1) กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorines) เป็นกลุ่มที่ใช้มาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองสารพิษสามารถตกค้างได้ดีในไขมันและมีพิษตกค้างนานจึงไม่เหมาะที่จะใช้กับศัตรูพืชอาหาร และส่วนมากได้ยกเลิกใช้ทางเกษตรไปแล้วหลายชนิด เช่น DDT และ Dieldein แต่ยังคงใช้ในด้านอื่นๆ เช่นใช้ DDT ในการกำจัดยุงและใช้ Dieldrin ในการกำจัดปลวก

พิษวิทยาของสารในกลุ่มนี้จะดูดซับได้ดีทางลำไส้และผิวหนัง เมื่อได้รับในปริมาณมาก พอจะเกิดผลกระทบต่อการทำงานทางระบบประสาท โดยเฉพาะสมองและส่วนที่ควบคุมระบบหายใจ

อาการพิษเฉียบพลัน คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ปวดศีรษะ ตกใจง่าย ตกมัว ชาตามปลายมือและเท้า มือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ชักหมดสติ

อาการพิษเรื้อรัง เบื่ออาหารและอ่อนเพลียและพิษเรื้อรัง น้ำหนักลด ตับเสื่อมสมรรถภาพ อ่อนแอติดเชื้อง่าย

2) กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphates) สารกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกัน กำจัดดีมีพิษตกค้างไม่นาน ควรใช้อัตราตามคำแนะนำเพื่อป้องกันสารพิษตกค้าง

พิษวิทยาของสารในกลุ่มนี้จะเป็นพิษต่อแมลงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปริมาณของสารพิษ ที่เข้าไปในร่างกายจะทำปฏิกิริยากับเอนไซม์โคลินเนสเตอเรส (Cholinesterase) อย่างถาวร ทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ประสาทกล้ามเนื้อกระตุกสั่นจนเกิดอาการแกว่ง แต่ถ้าหากอซิติลโคลีนเพิ่มมากขึ้นแล้วจะเกิดอาการกล้ามเนื้อเรียบอ่อนเพลียจนเป็นอัมพาต

อาการพิษเฉียบพลัน คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน แน่นหน้าอก มวนท้อง เหงื่อออก น้ำลายและน้ำตาไหล ม่านตาหรี่ กล้ามเนื้อกระตุก มึนงง กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ชัก หมดสติ เป็นอัมพาต หายใจขัดและหัวใจเต้นช้า หอบ

อาการพิษเรื้อรัง มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลางและกล้ามเนื้อ

3) กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamates) ใช้กันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะแมลงชนิดปากดูดและศัตรูพืชที่อยู่ในดิน เช่นไส้เดือนฝอยและหอยทาก สารกลุ่มนี้มีทั้งมีพิษร้ายแรงและปานกลางมีระยะเวลาในการตกค้างสั้น ถ้าใช้อย่างถูกต้องจะมีความปลอดภัยสูงต่อผู้บริโภค

พิษวิทยาของสารในกลุ่มนี้จะจะมีลักษณะคล้ายกับสารพิษในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต แต่ร่างกายของคนที่ได้รับสารพิษกลุ่มนี้จะกลับคืนเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วกว่าการเกิดพิษจากกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตเนื่องจากยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ดคลีนเอสเทอเรสแบบไม่ถาวร (Reversibie) อาการรุนแรงจึงน้อยกว่าและระยะเวลาน้อยกว่าจึงหายเองได้

อาการพิษเฉียบพลัน คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก เหงื่อออก ม่านตาหด กล้ามเนื้อสั่น กระตุก

4) กลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเพราะมีการสลายตัวได้เร็ว มีพิษน้อยต่อคนและสัตว์เลือดอุ่น สามารถใช้ทดแทนสารเคมีในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตแต่จะมีระยะการดื้อยาได้เร็วและมีราคาแพงกว่าสารพิษในกลุ่มอื่นๆ พิษวิทยาของสารในกลุ่มนี้จะเป็นพิษต่อการทำงานของระบบประสาทของแมลง ทำให้แมลงสลบได้ทันทีและตายได้ในที่สุด แต่มีพิษน้อยต่อคนและสัตว์เลือดอุ่น

อาการพิษเฉียบพลัน ผิวหนังคน บวมแดง พุพอง ไอ จาม คัดจมูก แน่นหน้าอก หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ชาที่ริมฝีปาก กล้ามเนื้อกระตุก

เนื่องจากสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชจะตกค้างในต้นพืช ดังนั้นหลังจากการพ่นสารกำจัดศัตรูพืชแล้ว ก่อนที่ผู้ผลิตจะทำการเก็บเกี่ยวจะต้องมีการทิ้งระยะเวลาเพื่อให้สารกำจัดศัตรูพืชสลายตัวเสียก่อน

การเกิดปัญหาจากสารอาหารพืชทำให้ดินและน้ำเสีย

การทำลายหรือการจัดการสารอาหารที่ใช้แล้วต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะปุ๋ยหรือสารเคมี โดยเฉพาะพวกไนเตรตและฟอสเฟตอาจไหลลงสู่แม่น้ำ ลำคลองหรือทำให้น้ำใต้ดินเสียหายได้

เพื่อความเข้าใจในเรื่องนี้จะขอยกตัวอย่างของลักษณะการใช้ธาตุอาหารและน้ำสำหรับการปลูกพืชประกอบดังนี้

ปกติแล้วเมื่อให้สารอาหารแก่พืช ผู้ปลูกต่างก็หวังว่าพืชจะใช้ปุ๋ยที่ให้ทั้งหมด 100% แต่ในความเป็นจริงแล้วพืชที่ให้ผลผลิตเป็นผล เช่น มะเขือเทศและแตง จะใช้ปุ๋ยเพียง 50% โดยจะใช้เพื่อการสร้างลำต้น กิ่ง ใบ (Crop residue) 20% และอยู่ในผลผลิต (Product) อีก 30% ส่วนที่เหลือ 50% จะถูกระบายออกไป (Drainage) ในขณะที่ปริมาณน้ำที่ใช้ถ้าคิดเป็น 100 % นั้นจะสูญเสียไปโดยการคายน้ำ (Transpiration) 70% และสูญเสียโดยการระบายออกไป 30%

ประเทศเนเธอร์แลนด์กำหนดให้น้ำที่ระบายออกจากพื้นที่เพาะปลูกต้องมีไนโตรเจนต่ำกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตรและฟอสเฟตต่ำกว่า 0.15 มิลลิกรัมต่อลิตร

เนื่องจากพืชแต่ละชนิดจะใช้ปุ๋ยมากน้อยแตกต่างกันไป เช่น มะเขือเทศที่ให้ผลผลิต 50 กิโลกรัมในพื้นที่ปลูกหนึ่งตารางเมตรต่อปีนั้นจะดูดใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 900 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ต่อปี (144 กิโลกรัม ต่อไร่ต่อปี) โพแทสเซียม 275 กิโลกรัม ต่อเฮกตาร์ต่อปี (44 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี) ดังนั้นการที่ประเทศเนเธอร์แลนด์กำหนดให้น้ำที่ระบายออกจากพื้นที่ปลูกที่มีไนโตรเจนต่ำกว่า 10,20 หรือ 30 กิโลกรัมและฟอสเฟตระหว่าง 5-10 กิโลกรัมนั้นเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำมาก ทำให้ผู้ผลิตต้องมีการจัดการอย่างเข้มงวดเพราะจากการตรวจสอบการสูญเสีย (Leaching) ของปุ๋ยและน้ำจากการปลูกพืชโดยใช้ร็อควูลเป็นวัสดุปลูกพืช โดยทั่วไปในประเทศเนเธอร์แลนด์ พบว่าสารอาหารที่ให้มีปุ๋ย 1800 กรัม/ตารางเมตรจะสูญเสีย 945 กรัม ต่อตารางเมตร ประสิทธิภาพการใช้น้ำ 70% และประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเพียง 52% ซึ่งประสิทธิภาพการใช้น้ำและปุ๋ยนี้ใกล้เคียงกับข้อมูลดังกล่าวข้างต้น

อย่างไรก็ตาม การปลูกพืชบนดินแบบธรรมดาก็ประสบปัญหาในเรื่องดังกล่าวเช่นกันเพราะจากข้องมูลแสดงให้เห็นว่าจะมีการคายน้ำประมาณ 650 มิลลิเมตร หรือ 650 ลิตร ต่อตารางเมตรและน้ำที่ชะล้างความเค็ม (Leaching fraction) ประมาณ 30%

ไนโตรเจนในดิน (N-soil solution) ในโรงเรียนที่ปลูกพืชด้วยดินประมาณ 20 โมห์/ม3 ต้องการใช้น้ำมากกว่า 9,000 ม3 /เฮกตาร์ การคายน้ำ 6,500 ม3 มีน้ำที่ระบายวัดได้ 2,786ม3 ดังนั้นเมื่อคำนวณหาปริมาณของไนโตรเจนที่สูญจะได้ (2,786*20*0.014)=780 กก./เฮกตาร์ (หรือ 121.6 กก./ ไร่)

จะเห็นได้ว่าปริมาณของไนโตรเจนที่สูญเสียไปจากการปลูกด้วยดินแบบธรรมดาไม่แตกต่างไปจากการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินที่มีการให้สารอาหารแบบระบบเปิดเลย

จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินไม่ได้เป็นตัวสร้างปัญหาเกี่ยวกับไนเตรตมากไปกว่าการปลูกโดยใช้ดินตามธรรมชาติ

สิ่งที่สำคัญก็คือการป้องกันการสูญเสียไนโตรเจนจากการปลูกด้วยดินแบบธรรมดาทำได้ยากกว่าการปลูกโดยไม่ใช้ดินเพราะในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนั้นสามารถนำสารอาหารพืชที่จัดการแล้วมาใช้หมุนเวียนได้อีก ในขณะที่การปลูกด้วยดินแบบธรรมดานั้นทำได้ยาก ในขณะเดียวกันยังสามารถจัดการเพื่อลดปัญหาได้ดีกว่าการปลูกด้วยดินแบบธรรมดาอีกด้วย เช่น โดยการปรับปรุง (โดยการสเตอร์ไรล์เพื่อฆ่าเชื้อโรค) สารอาหารที่ใช้แล้วเพื่อนำหลับมาใช้ใหม่อีกเป็นต้น

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับการจัดการเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยแล้ว การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินสามารถป้องกันหรือจัดการได้ดีกว่าการปลูกโดยใช้ดินตามธรรมชาติอีกด้วย โดยเฉพาะการผลิตในประเทศไทย

อนึ่ง จุดเด่นของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินก็คือนอกจากจะสามารถป้องกันโรคที่มาจากดินติดไปกับผลผลิตที่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมีข้อดีกว่าการปลูกผักกางมุ้งตรงที่สามารถป้องกันแมลงที่มีระยะการเจริญเติบโตที่เป็นดักแด้ที่อยู่ในดินได้ เพราะในการปลูกผักกางมุ้งนั้น ถ้าหากไม่มีการเตรียมดินที่ดีหรือไม่มีการตากดิน หากมีหนอนที่เป็นดักแด้ในดิน เช่น หนอนกระทู้หอม (หนอนหนังเนียว) หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมออเมริกัน (Hellothis sp.) หลงเหลืออยู่แล้วก็จะออกมาขยายพันธุ์และระบาดทำลายพืชที่ปลูกในมุ้งได้

การไม่ย่อยสลายของวัสดุปลูก

วัสดุปลูกที่ผลิตจากสารสังเคราะห์จะไม่ย่อยสลายง่าย ทำให้เกิดปัญหาที่ยากต่อการแก้ไข เช่น การไช้ใยหินหรือร็อควูล พลาสติกและปุ๋ย ดัวอย่างเช่น ในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่มีการใช้มากและเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับการใช้ร็อควูลและพลาสติกที่มีปริมาณ กล่าวคือในพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ 1 เฮกตาร์หรือ 6.25 ไร่ โดยใช้ร็อดวูลเป็นวัสดุปลูกจะมีวัสดุใช้แล้วที่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม

ปริมาณร็อควูล พลาสติกและปุ๋ยที่ใช้ในการปลูกมะเขือเทศ 1 เฮกตาร์หรือ 6.25 ไร่

ประเทศเนเธอร์แลนด์พยายามแก้ไขปัญหาดัวกล่าวโดยการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาผลิตใหม่หรือมีการหมุนเวียนใช้ใหม่ (Recycle) แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากเนื่องจากค่าขนส่งและต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตพืชไม่ใช่ปัญหาหลัก ในประเทศอินโดนีเซียได้มีการแก้ไขปัญหาการใช้ร็อควูลเป็นวัสดุปลูกโดยการนำมาใส่ถังยางมะตอยต้มในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงแล้วนำกลับมาใช้ใหม่

สำหรับการผลิตในประเทศไทยนั้น วัสดุปลูกที่เห็นกันมาก เช่น ถ้วยเพาะเมล็ดและถ้วยปลูกที่ทำจากพลาสติก รวมทั้งการใช้วัสดุปลูกอื่นๆ เช่นเพอร์ไลท์ที่ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง สาเหตุที่ไม่กล้าใช้ซ้ำก็เนื่องจากกลัวปัญหาการเกิดโรค วัสดุดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาเนื่องจากยากแก่การทำลายเพราะย่อยสลายยากแกรแก้ปัญหาโดยการนำกลับมาผลิตใหม่หรือ Recycle น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

ตัวอย่างสำหรับการผลิตในระบบ NFT ที่ได้จากการสำรวจจากผู้ปลูกโดยระบบไฮโดร โพนิกส์ในประเทศไทยในปี 2543 จากการผลิตพืชจำพวกผักสลัด โต๊ะละ 576 ต้น จำนวน 30 โต๊ะต่อไร่ โดยผลิตจำนวน 8 ครั้งต่อปีจะมีการใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การจัดการเพื่อลดไนเตรตตกค้างในพืช

การลดความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารพืชลง เช่นลดลงเหลือ 1 ใน 4 ของการให้ความเข้มข้นตามปกติก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์

อย่าให้สารละลายธาตุอาหารพืชขาดธาตุโมลิบดินัม ให้พืชได้รับธาตุอาหารอื่นๆ อย่างพอเพียงโดยเฉพาะ "โมลิบดินัม" เนื่องจากโมลิบดินัมเป็นธาตุที่ช่วย (หรือโคแฟคเตอร์) ในหารทำงานของเอนไซม์ไนเตรตรีดักเตส ดังนั้นอย่าให้พืชขาดธาตุโมลิบดินัมเพราะจะทำให้ความสามารถในการทำงานเพื่อลดการสะสมของไนเตรตของพืชลดลง

การจัดการแสง ให้พืชได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่หรือลดการพลางแสงก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์เพราะเอนไซม์ไนเตรตรีดักเตสจะถูกกระตุ้นด้วยแสงแดดให้เอนไซม์ทำงาน

การให้น้ำแทนการให้สารละลายธาตุอาหารพืช ถ้ายังไม่มั่นใจผลจากการปฏิบัติทั้ง 3 ข้อ ข้างต้นก็ควรลดความเข้มข้นของสารละลายลงในสัปดาห์สุดท้ายและให้น้ำเปล่าหรือน้ำประปาแทนการให้สารละลายก่อนเก็บเกี่ยว 1-2 วัน ดังเช่นผู้ผลิตในบางประเทศของยุโรปและในประเทศญี่ปุ่น นิยมปฏิบัติกันแต่ถ้าใช้หลักการนี้กับการปลูกแคนตาลูปอาจทำให้ความหวานลดลงได้ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาจึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยงานวิจัยรองรับ

อนึ่ง การสะสมไนเตรตนี้มิใช่จะเป็นปัญหาเฉพาะพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินเท่านั้น การปลูกพืชบนดินก็สามารถเกิดปัญหาดังกล่างได้เช่นกันถ้ามีการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก (เช่นแอมโมเนียมไนเตรต) ก่อนการเก็บเกี่ยวโดยที่ไนเตรตที่พืชดูดเข้าไปสะสมในเยื่อที่ยังไม่เปลี่ยนรูปเป็นสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน เช่น กรดอมิโนและโปรตีน ดังนั้นจึงไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเมื่อใกล้เก็บเกี่ยวพืช

ประโยชน์และปัญหาของไนเตรต

มนุษย์มิได้มีโอกาสที่จะได้รับไนเตรตจากพืชเท่านั้นแต่ยังจะได้รับจากการบริโภคอาหาร "เนื้อสัตว์และผลผลิต" เพราะปกติแล้วจะมีการใช้ไนเตรตและไนไตรท์ในอาหารใน 4 รูปแบบคือ
โพแทสเซียมไนเตรตหรือดินประสิว (KNO3) โซเดียมไนเตรต (NaNO3)

โพแทสเซียมไนไตรท์ (KNO3) และ โซเดียมไนไตรท์ (NaNO3)

เพื่อเป็น "สารเติมแต่ง (Food additives) สำหรับเนื้อสัตว์และผลผลิต" เพื่อให้สดและแต่งสี (ให้เป็นสีแดงแทนสีน้ำตาล) และเพื่อการถนอมอาหารโดยไนเตรตจะทำหน้าที่เป็น สารกันบูดหรือสารกันเสีย (Food preservative) คือไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางแคมีจำพวกออกซิเดชั่นที่มีผลทำให้อาหารมีกลิ่นแปลกไปจากเดิมและป้องกัน ไม่ให้จุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารบูดเน่าเจริญเติบโต โดยเฉพาะแบคทีเรียจำพวกคลอสตริเดียมคือคลอสตริเดียม บอทูลินั่ม (Clostridium botulinum) และคลอสตริเดียมเปอร์ฟรินเจน (Clostridium perfringens) ที่สามารถผลิตสารพิษหรือทอกซิน (Toxin) ที่มีพิษรุนแรงมากที่สุดที่ทำให้คนตายได้จนเรียกโรคที่เกิดจากถนอมอาหาร เช่น เนื้อหมัก เบคอนแฮม ไส้กรอกรมควัน เนื้อ เนื้อกระป๋อง พายหมู ปลารมควัน พิซซ่าแช่แข็งและเนยเข็งบางชนิดซึ่งจะใช้ไนเตรตและไนไตรท์เป็นสารเติมแต่ประมาณ 120 มก./กก. (Radojevic and Bashkin,1999) ประเทศต่างๆ ได้กำหนดปริมาณการใช้สารเติมแต่ในอาหาร เช่นสหราชอาณาจักรกำหนดให้ไม่เกิน 500 มก./กก.) และค่า ADI ของNaNO3) ที่ 0-5 มก./(น้ำหนักของคนเป็น) กก. สำหรับ (KNO3) (NaNO3) ที่ 0-0.2 มก./กก. โดยค่า ADI=0 เป็นอาหารสำหรับทารก (Baby food) องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดค่า ADI ที่ 220 มก./กก. สำหรับผู้ใหญ่ (Adult)

2. สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีการใช้ไนเตรตและไนไตรท์ในอาหารได้ไม่เกิน 500 และ 200 มิลลิกรัมต่อเนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัมตามลำดับแต่ในทางปฏิบัติผู้ผลิตมักจะใส่ในปริมาณสูงกว่านี้เพื่อให้เนื้อเป็นสีแดงและน่ารับประทาน โยเฉพาะในการทำเนื้อสวรรค์ เนื้อแดดเดียว ไส้กรอก แหนม ปลาเค็มและเนื้อสดในร้านก๋วยเตี๋ยว

3. ปัญหาที่มีไนเตรตในอาหารมากเกินไปจะก่อให้เกิดปัญหาของความปลอดภัยในการบริโภคอาหารเพราะเมื่อกินไนเตรตเข้าไปแบคทีเรียในลำไส้จะเปลี่ยนไนเตรตเป็นไนไตรท์ ซึ่งไนไตรท์จะเป็นตัวทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ป่วย เช่น 1)ไปขยายหลอดเลือดให้ฟโตขึ้นทำให้ความดันเลือดต่ำลงทำให้รู้สึกเหมือนเป็นลมหมดสติ 2)ทำให้ตับไม่สามารถสะสมวิตามินเอได้ตามปกติ 3)ปัญหาสำคัญคือจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กเนื่องจากไนไตรท์จะขัดขวางการพาออกซิเจนฮีโมโกลบินในเลือดกล่าวคือเมื่อไนไตรท์ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดแล้วจะเข้าจับกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจนได้สารประกอบสีน้ำเงินจะทำให้เด็กตัวเขียวคล้ำ ขาดอากาศหายใจและอาจตายในที่สุด อาการเช่นนี้เรียกว่า โรคบลูเบบี้ (Blue baby syndrome) หรือ โรคเมทีโมโกลบิเนเมีย (Methemoglobiemia) ในเด็กเล็กและทารกในช่วงที่อยู่ในครรภ์ของมารดา โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 เดือนเพราะลำไส้มีความเป็นกรดที่พอเหมาะกับความต้องการของแบคทีเรียประเภทไนเตรตรีดิวซิ่งแบคทีเรีย (nitrate reducing bacteria) ที่จะเปลี่ยนไนเตรต เป็นไนไตรท์

นั่นคือไนไตรท์จะเปลี่ยนฮีโมโกลบิลให้เป็นเมทีโมโกลบิน (Methemoglobin) ซึ่งไม่มีอำนาจหรือความสามารถ ในการนำออกซิเจนจากปอดไปสู่ร่างกายทำให้สมองขาดออกซิเจนและเป็นลมหมดสติ

การที่ผู้ป่วยที่เป็นเด็กจะเป็นอันตรายมากกว่าผู้ใหญ่ก็เพราะผู้ไหญ่มีเอ็นไซม์เมทีโมโกลบินรีดักเตส (Methemoglobin reductase) ที่คอยช่วยเปลี่ยนเมทีโมโกลบินให้เป็นฮีโมโกลบินได้ตามเดิม

สารไนเตรตและไนไตรท์ที่กินเข้าไปอาจถูกแบคทีเรียในลำไส้บางชนิดเปลี่ยนไปเป็นสารที่ก่อให้เกิดสารก่อโรคมะเร็งหรือคาร์ซิโนเจน (Carcinogen) เช่นหากเปลี่ยนไปเป็นไนโทรซามีน (Nitrosamine) แล้วอาจจะเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะการใส่ไนเตรตและไนไตร์ลงในเนื้อสัตว์ในปริมาณมากๆ เพื่อหวังให้เนื้อมี สีแดงสวยนั้น ถ้าหากมีการหมักเนื้อทิ้งไว้นานๆ จะเกิดปฏิกิริยาทางแคมีหลายชั้นเช่นสารอะมีน (Amine) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโปรตีนในเนื้อสัตว์จะทำปฏิกิริยากับไนไตรท์เกิดสารไนโทรซามีนได้หลายชนิดด้วยกันเป็นสารที่ทำเกิดมะเร็งของตับได้มากที่สุด รองลงมาเป็นมะเร็งของหลอดเลือดอาหาร มะเร็งาของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งมะเร็งของระบบทางเดินหายใจ ไต ทางเดินอาหารและกระเพาะปัสสาวะ (ลำดวน เศวตมาลย์ 2525)

ปกติการที่มนุษย์จะได้รับผลเสียจากไนเตรตนั้นจะต้องบริโภคไนเตรตในปริมาณมากจนถึงขีดเป็นอันตราย

ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีโอกาสที่จะได้รับไนเตรตจากพืชน้อยกว่าการได้รับจากการบริโภคอาหารที่มีการใช้ไนเตรตและไนไตรท์เป็นสารเติมแต่งอาหารที่ผิดพลาด (เช่น ลองพิจารณาจาการบริโภคผักกับแหนมหรือผักกับไส้กรอกเป็นต้น)

4. คณะกรรมการวิทยาศาสตร์เพื่ออาหารของสหภาพยุโรป (European Commission's Scientific Committee for Food) ได้กำหนดค่าที่ยอมรับว่าผู้บริโภคสามารถบริโภคไนเตรตได้อย่างปลอดภัย (Acceptable Daily Intake หรือ ADI) สำหรับไนเตรตอยู่ที่ 3.65 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักของคนเป็นกิโลกรัม หรือประมาณ 219 มิลลิกรัมต่อวันต่อคนที่มีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม

5. เนื่องจากแต่ละประเทศได้กำหนดค่าระดับสูงสุดของไนเตรตในพืชแต่ละชนิดแตกต่างกันไป เช่นปวยเหล็ง (Spinach) สหรัฐอเมริการกำหนดให้ที่ 3,600 มก./กก. เนเธอร์แลนด์ที่ 3,000 มก./กก. และรัสเซียที่ 2,100 มก./กก. ส่วนผักที่รับประทานในเนเธอร์แลนด์และออสเตรียกำหนดปริมาณไนเตรตสูงสุดที่ 4,500 มก./กก. และ 3,000 มก./กก. สำหรับเยอรมนีสหภาพยุโรป (European Union) ได้กำหนดค่าระดับสูงสุดของไนเตรตในพืชแต่ละชนิดและในระยะเวลาที่บริโภคของผู้บริโภคดังแสดงในตารางที่ 13.1-13.2

6. ปัญหาในด้านอุตสาหกรรมการบรรจุเป็นอาหารกระป๋อง ผักและผลไม้ที่มีไนเตรตสูง เมื่อบรรจุเป็นอาหารกระป๋องจะทำให้ผิวเคลือบดีบุกภายในกระป๋องเป็นสีดำซึ่งโรงงานสับปะรดกระป๋องได้กำหนดให้มีไนเตรตได้ไม่เกิน 25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ยงยุทธ โอสถสภา, 2543)

7. พืชอาหารสัตว์ที่มีไนเตรตเกิน 1 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้งอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์เคี้ยวเอื้องระดับของไนเตรตที่เป็นอันตรายต่อสัตว์คือ 0.7 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักของสัตว์เป็นกิโลกรัม โคเนื้อและหมูจะแสดงอาการไวมากต่อระดับของไนเตรตในขณะที่แกะจะมีความทนได้มากที่สุด การมีไนเตรต 0.21 เปอร์เซ็นต์ของอาหารสัตว์ถือว่าเป็ฯอันตราย ต่อสัตว์เลี้ยง การที่สัตว์ได้รับไนเตรตมากจะทำให้การผลิตน้ำนมลดลง การขาดวิตามินเอ แท้งลูก ระบบรังไข่และการให้กำเนิดลูกผิดปกติ (Radojevic and Bashkin,1999)

8. การใช้ปุ๋ยที่ไม่ถูกต้องอาจทำไห้มีไนเตรตในน้ำในดิน องศ์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดปริมาณ ไนเตรตและไนไตรท์สำหรับน้ำดื่มคือ 50 มก. NO3/ล. (หรือ 11 มก.N./ลิตร) และ 0.1 มก.NO3/ล. (Radojevic and Bashkin,1999)

9. สิ่งที่น่าสนใจก็คือเรื่องการป้องกันโรคมะเร็ง โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการบริโภคผักในตระกูลบรัสสิการ (Brussica) หรือผักในตระกูลเดียวกัน บร็อคโคลี (Broccoli) กะหล่ำใบ กะหล่ำดอก กะหล่ำดาวหรือ คะน้าอันเป็นผักที่อุดด้วยสารประกอบที่สามารถป้องกันมะเร็งและโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้ดีเนื่องจากผักในตระกูลบรัสสิกานี้มีสารเคมีชื่อสินิกริน (Sinigrin) และกลูโคราฟานิน (Glucoraphanin) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในการต่อต้านโรคมะเร็ง สารทั้งสองชนิดนี้จะทำงานเมื่อเซลล์พืชเสียหายในระหว่างกระบวนการปรุงเป็นอาหารหรือเมื่อถูกขบเคี้ยวโดยจะปล่อยเอนไซม์ ชนิดหนึ่งออกมา เอนไซม์ที่ปล่อยออกมานี้จะไปเปลี่ยนกลูโคราฟานินให้เป็นซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) ซึ่งจะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เอนไซม์ต่างๆ ในร่างกายถูกขับออกมาขจัดสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (คือสารคาร์ซิโนเจน) ให้หมดไป

10. งานวิจัยในระดับปริญญาเอกของนุชนาถ รังคดิลก ที่สถาบันทรัพยากรที่ดินและอาหาร มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียในปี 2544 ยืนยันว่า "กินคะน้าไม่เป็นมะเร็ง" ซึ่งความเข้มข้นของกลูโคราฟานินของผักในตระกูลบรัสสิการจะมีมากหรือน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และระยะการเจริญเติบโต เช่น เมล็ดและต้นอ่อนของบร็อดโคลีจะมีระดับของกลูโคราฟานินสูงกว่าต้นที่โตเต็มที่ นอกจากนี้ยังพบว่าการเก็บรักษาผักสดในถุงพลาสติก (Polyethylene) สามารถรักษาปริมาณสารนี้ในผักได้ ประมาณสามสัปดาห์

การเกิดปัญหาจากการตกค้างของไนเตรดในพืช

ในการปลูกพืชบนดินโดยปกติแล้วไม่ว่าเราจะใส่ปุ๋ยในรูปของปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยแอมโมเนียมที่ให้แอมโมเนียในรูหของปุ๋ยไนโตรเจนที่มักจะเดิมลงไปในดินนั้นเรามักจะพบว่าปริมาณของแอมโมเนียมน้อยเนื่องจากแอมโมเนียมจะถูกออกซิไดซ์ 2 ขั้นตอนอย่างรวดเร็ว กลายเป็นไนเตรตที่เป็นปุ๋ยหลักในดินโดยกิจกรรมขอเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มไนโตรโซโมเนส (Nitrosomonas spp.) และ ไนโตรแบคเตอร์ (Nitrobacter spp.) ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดในกระบวนการไนทริฟิเคชัน (Nitrification)

การเกิดการสะสมของไนเตรต เนื่องจากพืชเป็นสิ่งมีชิวิตที่สร้างอาหารได้เองโดยกระวนการการจัดการการผลิตที่พืชกำหนดขึ้นกระวนการเหล่านี้จะมีหลายกิจกรรมที่กระทำอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาเช่น "กิจกรรมสังเคราะห์" เพื่อการสร้างและ "กิจกรรมสลาย" จากผลผลิตที่ได้มาจากกิจกรรมหนึ่งไปเน็นกิจกรรม์อื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น เช่น
การเปลี่ยนไนเตรต (N03) ไปเป็นแอมโมเนีย (NH3) ก่อนที่พืชจะนำแอมโมเนีย (NH3) ไปสังเคราะห์เป็นกรดอมิโนอันเป็นลักษณะของกิจกรรมสังเคราะห์
แต่บางครั้งแอมดมเนีย (NH 3) จะเปลี่ยนไปเป็นไนเตรต (NO3) อันเป็นลักษณะของกิจกรรมสลายในขณะเดียว ก็จะเปลี่ยนกลับมาเป็นแอมโมเนีย (NH3) อีกก่อนที่จะนำไปสังเคราะห์เป็นกรดอมิโน
เนื่องจากแอมโมเนีย (NH3) สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นประโยชน์ได้อย่างสมบรูรณ์และไม่เก็บกักหรือสะสมในเซลล์ของพืช ในขณะที่ไนเตรต (NO3) สามารถถูกดูดซับและสะสมในแวคิวโอล (Vacuole) ที่อยู่ในเซลล์พืชได้บ้าง เพื่อรอเมื่อต้องการเปลี่ยนกลับมาเป็นแอมโมเนีย (NH3) อีกก่อนนำไปสังเคราะห์เป็นกรดอมิโนแต่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่นขาดแสงแดดหรือธาตุโมลิบดินัม ดังนั้นจึงเกิดลักษณะการสะสมของไนเตรตในพืชขึ้นมา
ธรรมชาติในกระบวนการเจริญเติบโตของพืช (ที่ปลูกบนดินหรือปลูกโดยไม่ใช้ดิน) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่เมื่อได้รับไนเตรตเข้าไปแล้วพืชจะไม่สะสมไนเตรตไว้นานเนื่องจากจะเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงโดยใช้เอนไซม์ต่างๆ ในพืชมาเร่ง ปฏิกิริยาให้เปลี่ยนแปลงเป็นแอมโมเนียและกรดอมิโนต่อไป (ยงยุทธ เจียมไชยศรี,2546)
เนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีแสงแดดเข้ามาเกี่ยวข้อง กล่าวคือการมีอากาศร้อนและมี "แสงแดด" จัด หรือความเข้มของแสงมากและมีชั่วโมงของแสงที่ยาวนานจะทำให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามปกติหรือทำให้ไม่มีการสะสมของไนเตรตในพืช ดังนั้นปัญหาการตกค้างของไนเตรตมักจะเกิดกับพืชที่ปลูกในโรงเรือนในประเทศที่มีฤดูหนาวที่หนาวจัดจนมีหิมะตก หรือมีแสงแดดน้อยหรือมีท้องฟ้าที่มืดครื้ม 2-3 สัปดาห์ติดต่อกัน (Radojevic and Bashkin,1999) ส่วนมากจะเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศ 4 ฤดูกาล คือฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน โดยมักจะพบว่าปริมาณของไนเตรตจะมีมากในใบพืชในฤดูหนาว (และ ฤดูใบไม้ร่วง) มากกว่าฤดูร้อน (และฤดูใบไม้ผลิ)
สำหรับปัญหาเรื่องการตกค้างหรือการสะสมของไนเตรตในผลผลิตพืชในประเทศไทยนั้นไม่น่าจะมีหรือหากมีก็ไม่น่าจะอยู่ใน "ระดับที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค" (การตรวจวัดควรคำนึงถึงวิธีการเก็บและการทำความสะอาดพืชตัวอย่าง รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัด) เนื่องจากประเทศไทยไม่มีฤดูหนาวที่หนาวจัดจนมีหิมะตกหรือมีแสงแดดน้อยหรือมีท้องฟ้า ที่มืครื้ม 2-3 สัปดาห์ ติดต่อกันเหมือนประเทศในเขตหนาว

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับสิ่งแวดล้อม

การปลูกพืชกับการกับการแก้ปัญหาอากาศเสียและกลิ่นเหม็นภายในอาคาร

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เช่น ระบบไฮโดรโพนิกส์ ถือว่าเป็นอาวุธสำคัญที่ช่วยทำลายอากาศเสียและกลิ่นเหม็นภายในห้องพักและที่ทำการ (Indoor air pollution) นักวิจัยจากสถาบันพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคโลจ์น ประเทศเยอรมนีพบว่าการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นภายในอาคาร เช่นกลิ่นฟอร์มาลิน เบนซิน และฟีนอล ที่มาจากการใช้วัสดุตกแต่งห้อง เช่น วัสดุที่ทำจากพลาสติกวัสดุก่อสร้างสำนักงาน สี และนิโคตินจากการสูบบุหรี่

ผลจากการศึกษาวิจัยของอาค์การนาซ่า (NASA) และ Associated Landscape Contractors of America (ALCA) ที่ใช้เวลา 2 ปีได้แนะนำพืชที่ควรปลูกภายในอาคาร ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาอาการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากปัญหาสภาพภายในอาคารที่ไม่ดี (Sick bulding syndrome) พืชเหล่านี้เป็นพืชที่ช่วยดูดฟอร์มาลิน เบนซิน และคาร์บอนมอนอกไซด ได้แก่
พืชในวงศ์ปาล์มสกุล Chammaedorea sp. (Bamboo palm)
อโกลนีมา (Aglaonema sp หรือ Chinese evergreen)
พืชสกุลเดียวกับหมากผู้หรือจันทร์ผา (Dracaena sp.)
พืชสกุลเดียวกับว่านงาช้างหรือว่านงู (Sanseviera sp.)
พืชสกุลเยอบีร่า (Gerbera sp)
พืชสกุลเดียวกับดอกเดหลี (Spathiphllum sp.)
พืชสกุลเบญจมาศ (Chrysanthemum sp.)
พืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินเหล่านี้สามารถดูดพิษจากฟอร์มาลินปริมาณมากไว้ในใบแล้วเปลี่ยนสิ่งที่ดูดไว้ถึง 90% ไปเป็นน้ำตาลและอื่น ๆ
นักวิจัยได้ศึกษาทดลองพบว่าพืชจำพวกไทร (Ficus) สามารถดูดนิโคตินแล้วเปลี่ยนสลายไปอย่างรวดดดเร็วด้วยการเจริญเติบโต รวมทั้งพบว่าพืชสกุลเดียวกับหวายตะมอย(Pothos) สามารถดูดนิโคตินไว้ในใบอ่อนซึ่งนักวิจัยจากสถาบันพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัยโคโลจ์น ประเทศเยอรมณีพบว่ามีปริมาณถึง 30 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแห้งของใบ 1 กรับ การปลูพืชจำพวกไทยร่วมกับพืชสกุลเดียวกับหวายตะมอยจะมีผลทำให้อากาศที่เป็นพิษในห้องทำงาน เปลี่ยนไปเป็นอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Halim and Tek, 2000)
การใช้การปลูกพืชโยไม่ใช้ดินผลิตพืชสวนประดับในที่ทำงานนอกจากจะสร้างความสวยงามดังกล่าว ธุรกิจการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินที่เกี่ยวกับพืชสวนประดับในที่ทำการต่าง ๆ ในต่างประเทศ เช่น สนามบิน โรงแรง อาคารที่ทำงาน รวมทั้ง้านพักอาศัยจึงได้รับความนิยมสูนในยุโรป สำหรับในเอเซียก็กบว่ากำลังเป็นที่นิยมกันในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียซึ่งเพิ่งจะเริ่มดำเนินการเมื่อประมาณกลางปี 2540

ที่มา : Halim and Tek,2000. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ดิเรก ทองอร่าม

ในประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีพื้นที่น้อยแต่มีจำนวนประชากรหนาแน่น รัฐบาลและเอกชันได้ร่วมกันหาทางให้ประชาชนทั้งในเมือง และชนบทมีชีวิตและสุขภาพที่ดี เช่น สมาคมปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินของสิงค์โปร์ (The Singapore Society of Soilless Culture) และสมาคมปลูกพืชของสิงค์โปร์ (The Singapore Cardenig Society) ได้ร่วมกันรณณรงค์ให้ประชาชนรู้จักการรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพ การใช้ชีวิตครอบครัวอย่างเป็นสุข (Happy family life) อยู่กับธรรมชาติที่เขียวขจี (Green life) ด้วยการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินในพื้นที่ว่างตามบ้านพัก ที่ทำงาน และภัตตาคาร เป็นต้น (Halim and Tek,2000)

ความแตกต่างระหว่างการปลูกพืชบนดินกับการปลูกโดยไม่ใช้ดิน

โดยปกติแล้วการที่พืชจะเจริญเติบโตได้ดีนั่นต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ที่เหมาะสมหลายอย่าง เช่น สภาพภูมิอากาศ (แสงแดด อุณหภูมิ) น้ำ ธาตุอาหารพืชที่มาจากดิน น้ำและอากาศ (ออกซิเจน ไฮโดรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์) ทั้งทางรากส่วนเหนือดินและส่วนใต้ติน การที่พืชจะนำธาตุอาหารไปใช้ได้นั้นจะเกี่ยวข้องกับความเป็นกรด - ด่าง (ph) ของดิน

การปลูกพืชบนดินโดยทั่วไปถึงแม้ดินจะมีธาตุอาหารอันเป็นปัจจัยที่พืชต้องการ แต่ก็มักมีข้อเสียคือดินจะไม่มีความอุดมสมบูรณ์ตามที่พืชต้องการ ดินจะมีคุณสมบัติที่ไม่แน่นอนแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ เช่น โครงสร้างของดิน ปริมาณธาตุอาหารหรือความอุดมสมบูรณ์ ระดับ pH ไม่เหมาะสม ทำให้ยุ่งยากต่อการปรับปรุงคุณภาพและเสียค่าใช้จ่ายสูง ปัญหาเหล่านี้ทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่แน่นอน ส่วนการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนั้น พืชจะได้รับสารละลายที่มีธาตุอาหาร เรียกว่า "สารละลายธาตุอาหารพืช" ที่ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชที่อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที เพราะมีการปรับค่า EC (Electrical Conductivity) และ pH ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการเจริญเติมโตของพืชอยู่ตลอดเวลา

อันที่จริงแล้วจะไม่มีความแตกต่างทางสรีรวิทยาของรากพืชที่จะนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ไม่ว่า จะเป็นการปลูกบนดินตามธรรมชาติ หรือการปลูกไม่ใช้ดิน

สำหรับการปลูกพืชบนดินธรรมชาติ "สารอาหารในดิน (Soil solution)" ที่เป็นอาหารพืชที่อยู่ในน้ำในดิน หรือ "ธาตุอหารในสารละลายและที่ดูดซับกับ คอลลอยด์ดิน (Soil colloid)" นั้นจะมาจากวัตถุที่เน่าเปื่อยผุพังย่อยสลายที่มาจากวัสดุที่เป็นทั้ง อินทรีสาร (Organic) เช่นปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ย่อยสลายเป็นฮิวมัส และ อนินทรียสาร (Inorganic) เช่นปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในขณะที่การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนั้นพืชจะได้รับ "สารละลายธาตุอาหาร" ที่มาจากการละลายของปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีในน้ำที่ให้ธาตุอาหาร (ส่วนใหญ่เป็นอนินทรีสาร ยกเว้นเพียงยูเรียที่เป็นอินทรียสาร) เรียกว่า "สารละลายธาตุอาหารพืช" เพียงอย่างเดียว ทั้งสารอาหารในดินที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุพังตามธรรมชาติ ในกรณีของการปลูกพืชบนดินและสารละลายธาตุอาหารจากการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินจะสัมผัสกับรากพืชซึ่งพืชจะดูดเอาไปใช้ในการเจริญเติบโตต่อไป

เนื่องจากปุ๋ยเคมีที่มาจากวัสดุที่เป็นอนินทรียสารที่ใช้ปลูกพืชบนดินตามธรรมชาติก็คืปุ๋ยเคมีที่พืชต้องการชนิดเดียวกับปุ๋ยที่ใช้ในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนั่นเอง ดังนั้นจึงไม่มีแตกต่าง

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับความหลากหลายของอาชีพ

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนอกจากจะสามารถใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ การศึกษา ทดลองทาง วิทยาศาสตร์ การสร้างสรรค์นันทนาการในครอบครัว การสร้างเสริมความงามทางภูมิทัศน์ ฯลฯ แล้วยังสามารถ สร้างความหลากหลายในการประกอบอาชีพของผู้ด้อยโอกาสทางร่างกาย เช่น ทหารผ่านศึก ที่ได้รับความพิการจากการสู้รบหรือผู้ที่พิการโดยกำเนิดด้วย

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับโครงการอวกาศ

นับแต่ประวัติศาสตร์ที่มนุษย์สามารถเดินทางไปสูดวงจันทรได้สำเร็จเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 เป็นต้นมาทำให้นักวิทยาศาสตร์เกิดความกระตือรือร้นที่จะเดินทางไปสู่ดวงดาวอื่น ๆ กันมากขึ้น เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางในอวกาศได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ การเดินทางในอวกาศที่ยาวนานของมนุษย์จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมี อาหารเพียงพอที่จะช่วยให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการตระเตรียมการผลิตรองรับไว้เป็นอย่างดี

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินไม่เพียงก่อให้เกิดประโยชน์กับชีวิตและความเป็นอยู่ในปัจจุบันเท่านั้นแต่ยังจะก่อให้เกิดประโยชน์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในอนาคตอย่างมากด้วย ดังที่อดีตประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน แห่งสหรัฐอเมริกาได้กล่าวไว้ว่า "การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (Hydroponics) จะเป็นเทคโนโลยีดีเด่นที่ใช้ในการผลิตอาหารในอนาคต

ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินโดยการปลูกแบบระบบไฮโดรโพนิกส์เพื่อใช้ในโครงการอวกาศให้แก่องค์การนาซ่า (National Aeronautic and Space Administration , NASA) ภายใต้โครงการชื่อ Controlled Ecological Life Support System (CELSS) เพื่อค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการผลิตอาหารสำหรับนักบินในโครงการอวกาศ โดยงานวิจัย นี้ดำเนินการทั้งที่ศูนย์ขององค์การนาซ่าและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่นมหาวิทยาลัยเพอร์ดูและสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยอริโซนา

การศึกษานี้มีหน่วยงานหรือองค์กรที่สำคัญให้การสนับสนุนและร่วมในการวิจัยหลายหน่วยงานรวมทั้งดิสนีย์ เวิร์ลด์ (Disney World) ด้วยเพื่อผลิตพืชที่ใช้เป็นอาหาร จำแนกออกเป็นสองโครงการย่อยคืออาหารที่ต้องใช้บริโภคระหว่างการเดินทางและอาหารที่ต้องใช้บริโภคเมื่ออยู่บนดวงดาวที่เดินทางไปถึง

โครงการผลิตพืชที่น่าสนใจคือโครงการผลิต "เครื่องจักรผลิตผักสลัด (Salad Machine)" เพื่อผลิตสลัดจากผักต่าง ๆ เช่น ผักสลัด แครอท แรดิช มะเขือเทศ แตง พริก ในพื้นที่ขนาดเพียง 2.8 ตารางเมตรด้วย เทคนิคและวิธีการง่าย ๆ ที่สามารถปลูกได้ทุกโอกาส และยังมีโครงการปลูกพืชในพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นมาเป็น 16 ตารางเมตร เพื่อปลูกพืชผักและธัญพืชอื่น ๆ เช่น ข้าวสาลี สลัด มันฝรั่ง ถั่วเหลืองเพื่อให้สามารถปลูกพืชได้หลายชนิดหมุนเวียนกัน

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับงานภูมิทัศน์

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนอกจากจะสามารถใช้ผลิตพืชสวนประดับเพื่อจำหน่ายเชิงธุรกิจดังกล่าวแล้ว ยังสามารถใช้ในงานภูมิทัศน์เพื่อดูแลรักษาพืชสวนประดับอาคารที่ทำการในเชิงธุรกิจได้เป็อย่างดีด้วย ตัวอย่างของประเทศที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจด้านนี้เช่นแอฟริกาใต้และเนเธอร์แลนด์ สำหรับในเอเซียก็มีหลายประเทศที่กำลังดำเนินการอยู่ เช่น สิงคโปร์และมาเลเซีย

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในงานภูมิทัศน์ ในลักษณะพืชสวนประดับร้านอาหาร ภัตตาคาร สถานออกกำลังกาย เช่นสระว่ายน้ำ

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับกการการลดการนำเข้าผักและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินจะช่วยลดการนำเข้าทั้งผักเมืองหนาวและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่มีการนำเข้ามาในประเทศที่มีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี เช่นในปี 2533 มีปริมาณการนำเข้า 2,775 ตัน มูลค่า 194 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นปริมาณ 57,579 ตัน มูลค่า 1,644 ล้านบาทในปี 2542

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยว

เนื่องจากเทคโนโลยีการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินสามารถควบคุมอุณหภูมิของสารอาหารและมีการจัดการการผลิตพืชผักเมืองหนาวได้ดีจึงทำให้สามารถเพิ่มศักยภาพในการผลิตผักรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานได้บริโภคผักที่ตนเองคุ้นเคยได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 5-10 ล้านคน

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับการผลิตพืชเชิงธุรกิจ

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินสามารถใช้ได้กับพืชหลากหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการปลูกพืชแต่ละชนิด ตั้งแต่ผัก (ผักจีน ผักไทย ผักฝรั่ง) พืชสมุนไพร ไม้มงคล พรรณไม้น้ำ ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ พืชไม้เลื้อย ไปจนถึงพืชยืนต้นสำหรับการผลิตเชิงธุรกิจ ในภาพรวมส่วนมากนิยมปลูกพืชจำพวกผักและไม้ผลที่เป็นพืชที่เก็บเกี่ยวช่วงอายุสั้น

โดยเฉพาะผักเมื่อพิจารณาในเรื่องของส่วนที่ใช้ประโยชน์คือผักใบ ผักผล ผักดอกและลำต้น ผักราก และหัว ผักเมล็ดและถั่วสดชนิดต่าง ๆ และผัก ซึ่งผู้ผลิตสามารถนำไปพิจารณาผลิดในรูปอุตสาหกรรมแบบครบวงจรได้เป็นอย่างดี

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับการเพิ่มศักยภาพในการจัดการการผลิต

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินสามารถ "ผลิตพืชได้อย่างต่อเนื่องตลอดปี" และ "สามารถเพิ่มรอบการผลิต" ได้มาก "อายุสั้น" และ "คุณภาพสูง" กว่าการปลูกพืชบนดิน เนื่องจากมีการจัดการที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้เหมาะสมต่อพืชได้ เช่น การจัดการสารอาหารและการอนุบาลต้นกล้า เป็นต้น ในขณะที่พืชที่ปลูกบนดินมีขีดจำกัดเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศและการใช้พันธุ์เฉพาะจึงทำให้พืชส่วนมากสามารถปลูกได้ดีในฤดูหนาวอันเป็นฤดูที่มีผลผลิตออกมาล้นตลาด

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับสุขอนามัยและการบริโภคผักโภชนาการสูง

ข้อดีที่ถือว่าเป็นจุดแข็งของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินก็คือไม่เปื้อนดินและปลอดภัยจากสารพิษผลผลิตที่ได้จึงมีความสะอาดกว่าการปลูกโดยใช้ดิน นอกจากนี้ยังให้ความสุขตาเพลินใจแก่ผู้ปลูกและผู้ที่พบเห็น ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ก็มีความสวยงามน่ารับประทานและมีรสชาติดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูรและปลอดจากสารพิษตกค้าง เรียกได้ว่าพืชที่ปลูกจะเป็นทั้ง "อาหารตา อาหารใจ และอาหารปาก" โดยเฉพาะผักสดจะมีความนุ่มและกรอบว่า ผักที่ปลูกบนดินตามธรรมชาติเข้าลักษณะ "อาหารสะอาด รสชาติดี" หรือ "Clean Food Good Taste" ที่ยอมรับกันในระดับสากล โดยเฉพาะกลุ่มชนที่นิยม "กินเจ" หรือรับประทานอาหารมังสวิรัติทั่วโลก

เนื่องจากพืชโดยเฉพาะพืชผักเป็นพืชผักเป็นพืชที่มีโภชนาการสูงจึงมีคุณค่าทางอาหารต่อชีวิตเพราะช่วยบำรุงรักษาสุขภาพ ให้พลังงานแก่ร่างกาย เพราะอุดมด้วยวิตามินแร่ธาตุและความเป็นสมุนไพร เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ซึ่งพบมากในผักช่วยต้านทานมะเร็งได้ดี เช่นเบต้าแคโรทีนใน แครอท มันเทศ แลผักหัวเนื้อสีเหลืองและอื่น ๆ เป็นแอนติออกซิแดนท์ช่วยป้องกันมะเร็ง วิตามินซีที่พบมากในผักใบเขียว พริก มะเขือเทศ ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งที่กระเพาะอาหารและคอ พืชในตระกูลบรอกโคลี มีวิตามินที่เป็นเอนติออกซิแดนท์ช่วยป้องกันมะเร็ง ผักให้พลังงานแก่ร่างกายสูง ดังนั้นนักกีฬาจึงให้ความสนใจในเรื่องนี้กันมาก ประโยชน์ในด้านอืน ๆ คือทำให้แก่ช้าและช่วยลดความอ้วน รวมทั้งแต่งกลิ่นและเพิ่มรสชาติให้อาหารเป็นต้น ดังนั้นการบริโภคผักปลอดภัยจากสารพิษจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น

ผลผลิตที่ได้จากการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน นอกจากจะใช้เพื่อการ "บริโภค" ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น สลัดที่จำหน่ายแบบผักสุดเป็นต้น เพื่อใช้ปรุงอาหารหรือผักสลัดที่น้ำสลัดพร้อมรับประทาน (Salad Pack) หรือผักที่ผ่านกระบวนการล้าง บรรจุถุงที่พร้อมเปิดถุงเพื่อบริโภค ได้ทันที่ (Mixed Salad) แล้วยัง "สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย " อาทิใช้จัดแจกันรับแขก จัดเป็นกระเช้าของขวัญเนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันเกิด เทศกาลปีใหม่ เพื่อมอบให้แก่ผู้ที่เคารพนับถือได้เป็นอย่างดีด้วย

ประโยชน์ของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

เนื่องจากพืชโดยเฉพาะพืชผักเป็นพืชผักเป็นพืชที่มีโภชนาการสูงจึงมีคุณค่าทางอาหารต่อชีวิตเพราะช่วยบำรุงรักษาสุขภาพ ให้พลังงานแก่ร่างกาย เพราะอุดมด้วยวิตามินแร่ธาตุและความเป็นสมุนไพร เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ซึ่งพบมากในผักช่วยต้านทานมะเร็งได้ดี เช่นเบต้าแคโรทีนใน แครอท มันเทศ แลผักหัวเนื้อสีเหลืองและอื่น ๆ เป็นแอนติออกซิแดนท์ช่วยป้องกันมะเร็ง วิตามินซีที่พบมากในผักใบเขียว พริก มะเขือเทศ ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งที่กระเพาะอาหารและคอ พืชในตระกูลบรอกโคลี มีวิตามินที่เป็นเอนติออกซิแดนท์ช่วยป้องกันมะเร็ง ผักให้พลังงานแก่ร่างกายสูง ดังนั้นนักกีฬาจึงให้ความสนใจในเรื่องนี้กันมาก ประโยชน์ในด้านอืน ๆ คือทำให้แก่ช้าและช่วยลดความอ้วน รวมทั้งแต่งกลิ่นและเพิ่มรสชาติให้อาหารเป็นต้น ดังนั้นการบริโภคผักปลอดภัยจากสารพิษจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น


ประโยชน์ของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินที่จะกล่าวต่อไปนี้จะเริ่มจากการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับสภาพที่เป็นอยู่ จากนั้นจะกล่าวถึงการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับการผลิตพืชเชิงธุรกิจ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับศักยภาพในการส่งเสริมนักท่องเที่ยวและการนำเข้าผักและผลิตภัณฑ์ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับงานภูมิทัศน์และการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับการพัฒนาทางอวกาศในอนาคตตามลำดับ

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับสุขอนามัยและการบริโภคผักโภชนาการสูง

ข้อดีที่ถือว่าเป็นจุดแข็งของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินก็คือไม่เปื้อนดินและปลอดภัยจากสารพิษผลผลิตที่ได้จึงมีความสะอาดกว่าการปลูกโดยใช้ดิน นอกจากนี้ยังให้ความสุขตาเพลินใจแก่ผู้ปลูกและผู้ที่พบเห็น ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ก็มีความสวยงามน่ารับประทานและมีรสชาติดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและปลอดจากสารพิษตกค้าง เรียกได้ว่าพืชที่ปลูกจะเป็นทั้ง "อาหารตา อาหารใจ และอาหารปาก" โดยเฉพาะผักสดจะมีความนุ่มและกรอบว่า ผักที่ปลูกบนดินตามธรรมชาติเข้าลักษณะ "อาหารสะอาด รสชาติดี" หรือ "Clean Food Good Taste" ที่ยอมรับกันในระดับสากล โดยเฉพาะกลุ่มชนที่นิยม "กินเจ" หรือรับประทานอาหารมังสวิรัติทั่วโลก

การปลูกพืชพืชโดยไม่ใช้ดินกับการศึกษา

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน โดยเฉพาะชุดเล็ก (ที่เป็นชุดปลูกสำเร็จรูปหรือผลิตขึ้นเอง) จะเหมาะสำหรับการศึกษาทดลองของนักเรียน นิสิต นักศึกษาและผู้ที่สนใจทั่วไป แต่ถ้าเป็นการปลูกเชิงการค้าจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีและหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการควบคุมการผลิต

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับนันทนาการภายในครอบครัว

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแบบขนาดเล็กหรือชุดเล็กสามารถสร้างนันทนาการหรือปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารบริโภคในครัวเรือน โดยเฉพาะเด็ก แม่บ้านและผู้สูงอายุได้โดยที่ไม่มีความยุ่งยากในการปลูกและดูแลรักษาเปรียบเสมือนกับการทำสวนตามปกติที่ให้ทั้งความเพลิดเพลินเจริญใจและได้เรียนรู้หลักในการปลูกพืชเบื้องต้นไปพร้อมกัน นอกจากนี้ยังเป็นการดึงให้เยาวชนห่างไกลจากยาเสพติดด้วย

การปลูกพืชโดยไม่ใช่ดินกับสภาพที่เป็นอยู่

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับสภาพที่เป็นอยู่
การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินเป็นศาสตร์และศิลป์ที่สามารถใช้ปลูกพืชทั้วขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ได้ทุกสถานที่โดยไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่ว่าจะเป็นการปลูกจำนวนน้อยเพื่อบริโภคในครัวเรือนหรือการผลิตเชิงธุรกิจ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ปลูกที่มีพื้นที่น้อย เช่นผู้ที่อยู่อาศัยในแฟลตหรืออพาร์ตเมนต์ จึงสามารถปลูกได้ในเมืองที่มีประชากรหนาแน่น เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม อังกฤษ เป็นต้น

Friday, 20 February 2009

การจัดการปลูกพืช

เนื่องจากการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินจะมีลักษณะการผลิตเหมือนกับการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม คือจะมีผลผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง ตามอายุการผลิต ดังนั้น จึงต้องวางแผนการผลิต การเก็บเกี่ยว การขนส่ง และการตลาดเป็นอย่างดี
การจัดการพืชในที่นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพในเวลาที่ต้องการ เช่น การเตรียมต้นกล้า การอนุบาลต้นกล้า การจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชในขณะทำการผลิตและการเก็บเกี่ยว การทำความสะอาดพื้นที่ปลูก วัสดุอุปกรณ์ปลูกพืช

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินจะมีลักษณะการผลิตแบบการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม
คือมีผลผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องตามอายุการผลิต จึงต้องวางแผนการผลิต
การเก็บเกี่ยว การขนส่ง และการตลาด

ความสำเร็จของการผลิตอยู่ที่ความแข็งแรงและความสมบูรณ์ของต้นกล้าที่เจริญเติบโตมาจากเมล็ด ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น การงอกของเมล็ด วิธีการเตรียมกล้าที่สัมพันธ์กับระบบปลูก
ปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการงอกของเมล็ดคือ น้ำ อุณหภูมิ ก๊าซ การสุกของเมล็ด แสงและสารเคมี ถ้าปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้มีความเหมาะสมแล้วจะทำให้เมล็ดที่มีการพักตัวสามารถงอกได้ดี
ต้นกล้ามีความสำคัญต่อความสำเร็จในการผลิตมากเพราะ จะทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตและตั้งตัวได้เร็ว เมล็ดพันธุ์ที่ดีจะต้องมีลักษณะตรงตามสายพันธุ์และมีความงอกดี ปกติแล้วการเพาะกล้าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์

ขั้นตอน การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์
ขั้นตอนการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ด้วยระบบการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ (Hydroponics) หรือระบบที่ไม่ใช้วัสดุปลูก (Water Culture) สามารถปลูกได้โดยที่ว่า เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้า สามารถนำกล้าไปปลูกในแปลงอนุบาลก่อน แล้วจึงนำต้นกล้าไปปลูกที่แปลงปลูกโดยตรงก็ได้
ในขณะที่ระบบปลูกที่ใช้วัสดุปลูก (Substrate Culture) จะนำเมล็ดที่งอกเป็นต้นกล้า ในแปลงเพาะกล้าไปปลูกที่ที่แปลงปลูก หรือจะนำเมล็ดไปปลูกที่แปลงปลูกโดยตรง

การปลูกด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ (Hydroponic)
หรือระบบที่ไม่ใช้วัสดุปลูก (Water Culture)
เพาะเมล็ด เมล็ดงอกเป็นต้นกล้า หรือ

นำต้นกล้าไปปลูกในแปลงอนุบาล
นำต้นกล้าไปปลูกในแปลงปลูก
ตรวจวัด EC และ pH ทุกวันถ้า EC ลดลงให้เติมปุ๋ยตามที่พืชต้องการโดยแรงคนหรืออัตโนมัติ
นำสารละลายที่เปลี่ยนไปใช้กับระบบใช้วัสดุปลูก (Substrate Culture) หรือปลูกพืชอื่น ๆ บนดิน
- ตรวจวัด EC และ pH ทุกวันถ้า EC ลดลงให้เติมปุ๋ยตามที่พืชต้องการโดยแรงคนหรืออัตโนมัติ
- ก่อนเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์ ให้ลดปริมาณธาตุอาหารลงและก่อนเก็บเกี่ยว 1 – 2 วัน

รูปแบบการปลูกพืชไม่ใช้ดิน

ในการปลูกไม่ใช้ดิน อาจจำแนกได้หลายรูปแบบ โดยจำแนกได้ดังนี้

1. การปลูกในสารละลาย (Water culture)
ซึ่งเรียกว่าการปลูกแบบ Hydroponics โดยแบบนี้สามารถจำแนกได้ 2 รูปแบบ คือ

1.1 แบบน้ำไหลเวียน
โดยอาจไหลผ่านรางปลูกแบบฟิล์มบางเรียกว่า Nutrient film Technique (NFT) และน้ำลึกประมาณ ( ประมาณ 5 – 10 ซม.) ไหลผ่านรางปลูก เรียกว่า Deep Flow Technique (DFT) ซึ่ง
ทั้ง 2 แบบ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็นรูปการค้ามากขึ้นเนื่องจากมีการจัดการที่ไม่ยุ่งยากและสามารถตอบสนองในการเจริญเติบโตของพืชค่อนข้างมาก

1.2 แบบน้ำซึมเข้าสู่ระบบรากพืช (passive system)
โดยอาจทำได้โดยปลูกพืชแล้วมีส่วนที่เป็นท่อนำสารละลายปุ๋ยให้ได้สัมผัสกับรากพืช เช่น
ปลูกในภาชนะ 2 ชั้น โดยมีส่วนขังน้ำด้านล่างและด้านบน มีวัสดุปลูกมีส่วนดูดน้ำขึ้นไป ซึ่งเรียกว่า
แบบ Capillary system อีกแบบคือ ให้รากพืชสัมผัสกับรากโดยตรงคล้ายกับแบบ Deep flow Technique แตกต่างตรงที่น้ำไม่หมุนเวียนแต่จำเป็นต้องเติมปริมาณก๊าซออกซิเจนลงไปละลายกับปุ๋ย
ซึ่งเรียกแบบนี้ว่า Float root system แบบนี้จะนิยมใช้ในการศึกษาพืชปลูกในสารละลายในช่วงแรกแต่กรณีปลูกทางการค้าจะประยุกต์ให้มีการไหลเวียนของน้ำเช่นเดียวกับแบบ NFT

แบบ Float root system
2. การปลูกโดยพ่นสารละลายใต้โคนรากพืช (Aeroponics)
โดยมีการควบคุมให้รากพืชสัมผัสสารละลายต่อเนื่องตลอดที่ต้นพืชต้องการ การปลูกพืชโดยพ่นสารละลายในอากาศทำให้ต้นพืชมีการเติบโตค่อนข้างดี แต่มีปัญหาอาจทำให้รากพืชแห้ง และยังส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตได้ถ้าหากไม่ศึกษาสภาพแวดล้อมดีพอ การปลูกแบบ Aeroponics อาจนำมาประยุกต์ในการขยายพันธุ์พืชและใช้ในการศึกษาทางสรีรวิทยาของต้นพืชในสภาพแวดล้อม ของแต่ละท้องที่

3. การปลูกโดยใช้วัสดุปลูก (Substrate culture)
ในการปลูกแบบนี้สามารถปลูกได้หลายรูปแบบ โดยพิจารณาจากวัสดุที่ใช้ปลูก ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
3.1 วัสดุปลูกที่เป็นอินทรีย์ (Organic subsstrate) เป็นวัสดุที่มาจากธรรมชาติ เช่น ขี้เลื่อย
แกลบ ถ่าน เปลือกไม้ ฮิวมัส ปุ๋ยหมักต่างๆ
3.2 วัสดุปลูกทีเป็นอนินทรีย์ (Inorganic substrate) โดยใช้วัสดุที่เป็นพวก ทราย กรวด
ฟองน้ำ การปลูกโดยไม่ใช้ดินแบบใช้วัสดุปลูกจะปฏิบัติหลักการเดียวกับการให้นำปุ๋ยระบบน้ำแต่ต่างกันตรงที่ใช้แล้วจะให้ไหลกลับมาสู่ถังเก็บและปรับสภาพให้เหมาะสมในการปลูกพืชต่อไป การปลูกแบบนี้เหมาะสมกับบ้านเราในการปลูกพืชหัวโดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับพวก กระเจียว ซ่อนกลิ่น ฝรั่ง
และผัก เช่น พริก มะเขือ

พืชที่จำเป็นต้องการให้ยึดโยงต้นให้แข็งแรง เช่น มะเขือเทศ แตงกวา หรือไม้ยืนต้น และไม่เหมาะในการปลูกในพื้นที่ที่มีลมพัดแรง ๆ

4. การปลูกแบบระบบ DFT (Deep Flow Technique)

การปลูกแบบระบบให้สารละลายธาตุอาหารพืช
ไหลผ่านรากพืชในราง / ท่อ / ถาดปลูกระดับลึก (Deep Flow Technique) DFT
วิธีนี้จะนำต้นกล้าที่ปลูกบนแผ่นโฟม มาปลูกบนวัสดุปลูกที่เป็น
3.ท่อปลูกแล้วให้สารละลายธาตุอาหารลึกกว่า 2 แบบแรกที่กล่าวมาปกติแล้วถาดปลูกมักทำด้วย
1.โฟมขึ้นรูปเป็นตัว (U) คล้ายกล่อง
2. ท่อทรงกลมเพื่อใส่สารละลายธาตุอาหารพืช มีฝาปิดเรียกว่า แผ่นปลูกเพื่อรองรับต้นกล้าที่เพาะในฟองน้ำ หรือ เพาะในถ้วยเพาะ
ถ้าเป็นรางปลูกที่ทำจากท่อ และใช้กล้าที่เพาะในถ้วยเพาะจะสามารถให้สารละลายทั้งแบบหมุนเวียนอย่างต่อเนื่องหรือให้เป็นระยะ ๆ แบบท่วมขังในท่อลึกประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร
(โดยน้ำจะท่วมรากพืชในถ้วยบางส่วน) ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเมื่อ “ระบบไฟฟ้าขัดข้อง” เพราะรากพืชยังสามารถใช้น้ำหรือสารละลายที่ท่วมขังอยู่ในรางปลูกได้อันเป็นเหตุผลของการปลูกระบบนี้
ถ้าเป็นถาดปลูกก็จะมีลักษณะคล้ายอ่าง สามารถใส่สารละลายธาตุอาหารได้ลึกประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร แล้วให้สารละลายธาตุอาหารพืชแบบหมุนเวียน
การปลูกโดยใช้ถาดปลูกจะเหมือนกับการปลูกพืชแบบลอยน้ำ (Float system) ซึ่งเป็นระบบที่ปลูกได้ดีในที่ที่มีแดดจัด การปลูกโดยวิธีนี้จะมีช่องว่างระหว่างแผ่นปลูกกับสารละลายธาตุอาหารพืช ประมาณ 12 – 25 มิลลิเมตร เพื่อให้รากพืชบางส่วนถูกอากาศและบางส่วนจุ่มแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารซึ่งช่องว่างนี้สารมารถปรับลดได้ตามอายุของพืช โดยมีหลักว่า
1.ให้รากส่วนบริเวณตรงโคนจากส่วนที่เป็นแผ่นปลูกในช่องว่างก่อนที่จะจุ่มลงในสารละลายธาตุอาหารได้สัมผัสกับอากาศเป็น “รากอาหาร (Oxygen roots หรือ Aero roots)” เพื่อดูดอากาศ
2.รากส่วนที่จุ่มอยู่ในสารละลายธาตุอาหารทำหน้าที่ดูดน้ำและธาตุอาหารขึ้นไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตของพืชเป็น “รากอาหาร (Water nutrient roots)” ดังนั้น พืชจึงได้รับทั้งอากาศและอาหารเพื่อการเจริญเติบโต (ซึ่งมีส่วนของรากอากาศประมาณ 12 – 25 มิลลิเมตร)

4.1. ระบบ DFT หรือ Deep Flow Technique แบบปลูกในรางปลูก

Deep Flow Technique Deep Flow Technique คือ การปลูกแบบ
ระบบให้สารละลายธาตุอาหารพืชไหลผ่านรากพืช
ในระดับลึก ในรางปลูกระบบนี้ จะนำต้นกล้าที่เพาะ
โดยใช้เพอร์ไลท์ผสมกับเวอร์มิพูไลท์มาปลูกในรางปลูก
ซึ่งรางปลูกทำจากท่อพีวีซีทรงกลมแล้วให้สารละลาย
ธาตุอาหารในระดับลึก

ระบบ DFT เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาจากระบบ NFT เพื่อแก้ปัญหาเมื่อ “ระบบไฟฟ้าขัดข้อง” เพราะรากพืชยังสามารถใช้น้ำหรือสารละลายที่ท่วมขังอยู่ในรางปลูก

4.2 ระบบ DFT หรือ Deep Flow Technique แบบปลูกในถาดปลูก.
Deep Flow Technique Deep Flow Technique คือ การปลูกแบบระบบให้สารละลายธาตุอาหารพืชไหลผ่านรากพืชในระดับลึกในถาดปลูก ระบบนี้จะนำต้นกล้าที่เพาะในฟองน้ำบรรจุลงถ้วยปลูกมาปลูกบนแผ่นปลูกที่ทำด้วยโฟมที่วางอยู่บนถาดปลูก แล้วให้สารละลายธาตุอาหารในระดับลึก โดยมีวัสดุปรับระดับความลึกของสารละลาย
ระบบ DFT แบบนี้เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเมื่อ “ระบบไฟฟ้าขัดข้อง” เพราะ
รากพืชยังสามารถใช้น้ำหรือสารละลายที่ท่วมขังอยู่ในถาดปลูก

คุณลักษณะของระบบปลูก
1. ระบบ DFT แบบปลูกในถาดปลูก มีขนาด 0.65 x1.35 เมตร ปลูกผักจีนได้ ถาดละ 60-100 ถ้วยปลูก ปลูกผักสลัดได้ถาดละ 20 ถ้วยปลูก ถาดปลูกผลิตด้วยพลาสติก ชนิด POLYPROPYLENE(PP) ได้รับการยอมรับ จาก Greenpeace ว่าเป็นความหนาแน่นสูงด้วยระบบ INJECTION MOULDING พลาสติก ชนิด POLYPROPYLENE(PP) ได้รับการยอมรับ จาก Greenpeace ว่าเป็น plastic ที่สะอาดมากที่สุดชนิดหนึ่ง
2. ตัวชุดปลูกสามารถใช้แบบอเนกประสงค์คือ ใช้เป็นถาดเพาะกล้า ถาดอนุบาลกล้า
และถาดปลูก ที่สำคัญคือสามารถต่อเป็นชุดปลูกแบบเป็นแถวได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
3. การเพาะและอนุบาลกล้า ทำการเพาะกล้าเมื่อเมล็ดงอกดีแล้วก็ย้ายลงสู่แปลงอนุบาล
ก่อนย้ายลงสู่แปลงปลูก
4. ตัวอย่างพืชที่ปลูก สามารถปลูกได้ทั้งผักฝรั่ง คือ ผักสลัด ผักไทย และผักจีน

ปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดิน

สิ่งหนึ่งที่จะปลูกพืชให้สำเร็จได้คือต้องรู้จักต้นพืชดีพอ ดังนั้นในด้านปัจจัยการเจริญเติบโตประกอบด้วยสิ่งหลัก ๆ ดังนี้

· ด้านพันธุกรรม (genetic)
· ด้านสิ่งแวดล้อม (environmental)
· การจัดการ (management)

ซึ่งเราต้องมีการจัดการให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของต้นพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินและต้อง
มีความรู้พื้นฐานต่าง ดังนี้

1. ลักษณะทางพันธุกรรม (genetic)
พันธุกรรม เป็นตัวบ่งบอกว่าพืชมีลักษณะต่าง ๆ เช่น โต เล็ก สูง เตี้ยตามแต่ชนิดของพันธุ์พืชนั้น ๆ ดังนั้น เราจะต้องมีความรู้เรื่องจำเพาะของพันธุ์พืชที่จะปลูก ต้องสามารถทราบลักษณะพิเศษ
ของพันธุ์ทราบปัญหาในการผลิตว่าทนต่อการทำลายของศัตรูแค่ไหน ทราบอายุในการเก็บผลผลิต
ความเหมาะสมในกรณีนำมาปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน การตอบสนองต่อภูมิอากาศในพืชที่ปลูกซึ่งพืชบางชนิดจะตอบสนองต่ออุณหภูมิที่แตกต่างกัน เช่น ปวยเล้ง ชอบอุณหภูมิ 15.5 – 18.5 องศาเซลเซียส
หอม กระเทียม ชอบอุณหภูมิ 12.5 – 24 องศาเซลเซียส แตงกวา มะเขือเทศจะทนต่ออากาศร้อน แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันความก้าวหน้าในการปรับปรุงพันพืชสามารถผลิตพันธุ์พืชที่ปลูกได้ในทุกสภาพอากาศบ้านเรา เช่น ผักกาดหอม กะหล่ำปลี บล๊อคโคลี่ เป็นต้น
ในด้านอายุพืชการเจริญเติบโต และการพัฒนาการของพืชจะทำให้เกิดความแตกต่างของความเข้มข้นของแร่ธาตุอาหาร ในส่วนของพืชซึ่งโดยปกติ เมื่อพืชอายุมากขึ้น ความเข้มข้นของแร่ธาตุอาหารจะแสดงต่อหน่วยน้ำหนักแห้งที่ลดลง ซึ่งแสดงว่าเกิดจากการเจือจางของสารละลาย


2. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (environmental)

แสง
แสงเป็นวัตถุดิบที่จำเป็นต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของต้นพืชอย่างมาก ซึ่งอาจได้จากแสงอาทิตย์ หรือแสงที่ได้จากดวงไฟ จะมีผลต่อต้นพืช การได้รับปริมาณแสงและการดูดรับแสงโดยธรรมชาติของพืชบางชนิด เช่น แตงกวา พริก มีความต้องการแสงเต็มที่ แต่บางชนิดต้องการแสงน้อย ดังนั้น เราจะต้องพิจารณาความเหมาะสมของแสง ที่แสงน้อยเกินไปทำให้ต้นพืชอ่อนแอหรือมีการยืดของข้อต้น มีผลให้การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติหรือไม่เจริญเลยหากได้รับแสงมากที่ก่อให้เกิดความเสียหายควรใช้ตาข่ายพรางแสงที่เรียกว่า ซาแรน (saran) ช่วยลดความเข้มแสงให้เหมาะสมและช่วงความยาวแสงในแต่ละวันจะมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของพืชต้น เช่น ต้นเบญจมาศ ซึ่งถ้าหากได้รับแสงช่วงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง จะมีการเกิดดอก และหากมีการได้รับแสงมากกว่า 15 ชั่วโมง ก็จะมีการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ แต่อย่างไรก็ตามพืชบ้านเราซึ่งเป็นพืชเมืองร้อนพันธุ์ผักทั่วไป สามารถเจริญเติบโตได้ดีในระดับความเข้มแสงสูงจะทำให้มีการดูดธาตุอาหารและน้ำไปใช้กับต้นพืชมากขึ้น ในการปลูกพืชไม่ใช้ดิน ที่ปลูกตามระเบียงในกรณีแสงไม่เพียงพอ จะทำให้ต้นพืชยึดและโตช้าหรืออาจไม่โตเลยจึงจำเป็นต้องให้แสงไฟที่ระดับความเข้มสูงเพียงพอที่จะสามารถให้พืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงได้

อุณหภูมิ
อุณหภูมิเป็นปัจจัยที่มีผลอันเนื่องมาจากความเข้มแสงหรือระดังความสูงของพื้นที่ในแต่ละพื้นที่ ต้องมีการทราบข้อมูล อุณหภูมิสูงสุด ค่าสูงสุดในรอบที่ผ่านมา เพื่อใช้ประกอบในการพิจารณาเลือกชนิดพืชที่ใช้ปลูก ซึ่งความเหมาะสมต่ออุณหภูมิของพืชจะขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้อุณหภูมิจะมีผลต่อคุณภาพผลผลิตซึ่งในอุณหภูมิต่ำจะทำให้พืชมีเส้นใยน้อยและรสชาติดีขึ้น นอกจากนี้อุณหภูมิลดต่ำลง ก็ทำให้ต้นพืชสามารถเปลี่ยนช่วงการเจริญจากกิ่งใบมาให้ผลผลิตได้ ในสภาพอุณหภูมิสูงทำให้ต้นพืชดูดธาตุอาหารเพิ่มขึ้น แต่หากสูงเกินไปทำให้การดูดช้าลง

ความสูงของพื้นที่กับระดับน้ำทะเล
ในสภาพทั่วไปประเทศไทยความสูงของพื้นที่ไม่มีความแตกต่างกันกับการปลูกพืชมากนัก แต่ที่มีผลเพราะไปมีผลต่อระดับอุณหภูมิเนื่องจากทุกระดับความสูงทำให้อุณหภูมิมีการลดต่ำลง เช่น ในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา หรือพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีระดับพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลมาก มีผลให้อุณหภูมิต่ำเหมาะกับการปลูกพืชที่ชอบอุณหภูมิต่ำได้ดี แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาพันธุ์ที่ปลูกได้กว้างขึ้น
ความชื้นสัมพัทธ์และปริมาณน้ำที่ใช้
ในสภาพบ้านเราเป็นเขตร้อน สภาพที่อากาศแห้งหรือความชื้นในอากาศน้อยมีผลทำให้ต้นพืชเกิดการเหี่ยวเฉาได้ ในการปลูกพืชไม่ใช้ดินการอาศัยน้ำมาเป็นตัวทำละลายธาตุอาหารจะต้องศึกษาคุณภาพน้ำ แหล่งน้ำ ที่นำไปใช้มีความเหมาะสมเพียงใด ซึ่งถ้าหากน้ำเป็นกรดสูง (pH ต่ำ) พืชจะดูดธาตุอาหารพวกประจุบวก (cation) ลดลงในขณะเดียวกันจะดูดธาตุประจุลบสูงขึ้น (anion) ดังนั้น ควรใช้น้ำในระดับ pH ที่เหมาะสม ที่มีความเป็นกลางจะเหมาะต่อการนำไปใช้ของพืช
ลม
ในการปลูกพืชไม่ใช้ดิน ลม นอกจากมีผลในการทำให้ต้นพืชมีการคายน้ำสูงแล้วยังมีผลทำให้เกิดการโยกคลอนของต้นพืชทำให้รากขาด มีการชะงักการเจริญเติบโตและเป็นช่องทางการเข้าทำลายของศัตรูพืช จึงจำเป็นต้องมีการสร้างฉากเพื่อลดแรงปะทะลม เช่น ใช้ตาข่ายบังแรงลมปะทะ เช่น ซาแลน
หรือสร้างโรงเรือนหรือปลูกต้นไม้เป็นแนวป้องกันลม เช่น ต้นกระถินเทพา สน กล้วย ซึ่งทุกระดับความสูงจะสามารถลดแรงปะทะลมได้

ระดับปริมาณก๊าซในบรรยากาศ
ระดับปริมาณก๊าซในบรรยากาศที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และออกซิเจน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์และการหายใจของต้นพืชในการปลูกพืชไม่ใช้ดินในโรงเรือนจะสามารถควบคุมปริมาณที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ดีส่วนออกซิเจนจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการหายใจและมีบทบาทต่อการดูดธาตุอาหารของรากพืชซึ่งถ้ารากพืชได้ออกซิเจนที่น้อยจะทำให้การดูดธาตุอาหารลดลง ซึ่งค่าน้อยกว่า 3 % จะมีผลต่อการลดการดูดธาตุอาหารเป็นอย่างมาก

ธาตุอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
ธาตุอาหารเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ต้นพืชมีการเจริญเติบโต ธาตุที่พืชผักใช้มากที่สุด คือ
ธาตุคาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) และไฮโดรเจน (H) เป็นองค์ประกอบหลักของพืช แต่เนื่องจากธาตุ
ทั้ง 3 ตัว มีจำนวนมากในบรรยากาศและในน้ำจึงไม่กล่าวถึงมากนัก กล่าวเฉพาะธาตุที่จะต้องให้เพิ่มเติม คือ ไนโตรเจน (N) โพแทสเซียม (K) ฟอสฟอรัส (P) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S)
ซึ่งจะนำไปใช้มากและธาตุอีกกลุ่มหนึ่งที่ขาดไม่ได้และจำเป็นต้องมีคือธาตุเหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu)
แมงกานีส (Mn) โมลิบดินัม (Mo) สังกะสี (Zn) คลอรีน (Cl) โบรอน (B) และปัจจุบันได้พบว่านิเกิล (Ni)
เป็นอีกธาตุหนึ่ง ซึ่งธาตุแต่ละตัวมีบทบาทต่อสรีระในการเจริญเติบโตที่มีอยู่ในธรรมชาติ ดังนั้น ในการ
ปลูกไม่ใช้ดินต้องให้เพียงพอกับพืชต้องการในแต่ละช่วงการเจริญ นอกจากนี้ยังมีการสร้างสารควบคุมการเจริญเติบโตที่พืชสร้างขึ้นที่มีการส่งเสริมในการเติบโตที่มีอยู่เล็กน้อยก็ตอบสนองต่อการเจริญของพืช หรือเรียกว่า ฮอร์โมนพืชประกอบด้วยกลุ่มที่ส่งเสริมสาร กลุ่มออกซิน (AUXIN) จิบเบอเรลิน (GIBBERELLIN) และไซโตไคนิน (CYTOKININ) และกลุ่มยับยั้งการเจริญเติบโต เช่น เอทิลีนและสารยับยั้งการเจริญเติบโต (INHIBITOR) และรวมถึงสารชะลอการเจริญเติบโต (GROWTH RETARDANT)เช่น พาโคลบิวทราโซล (Paclobutrazol)
ความเป็นกรด – ด่าง (pH) ของสารละลายธาตุอาหารพืช
จะวัดในรูปการแตกตัวของอิออน H เป็นของค่า pH ซึ่งช่วง pH ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชส่วนใหญ่คือ 5.0 – 6.0 ค่า pH ต่ำกว่า 4 รากพืชจะเกิดอันตราย และถ้าสูงกว่า 7 การเคลื่อนย้ายฟอสเฟต แมงกานีส และเหล็ก จะถูกรบกวน ควรตรวจสอบระดับ pH ทุกวัน ถ้า
สารละลายมีสภาพเป็นกรดจะต้องยกระดับ pH ด้วย Potassium hydroxide (KOH) หรือ
Sodiumhydroxide (NaOH) ถ้าสารละลายธาตุอาหารพืชมีสภาพเป็นด่างต้องลดระดับ pH ด้วย nitric
Acid (HNO3) , phosphoric acid (H3 PO4) sulphuric acid (H2 SO4) หรือ hydrochloric acid (HCI)
3. การจัดการในการปลูกพืชไม่ใช้ดิน (management of soilless culture)
สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ ความสัมพันธ์ของส่วนรากและส่วนยอดต้องมีความสัมพันธ์อยู่ต่อเนื่องตลอด
เนื่องจากทั้งสองมีความเกี่ยวข้องต่อกันอย่างแยกไม่ออกในส่วนยอดซึ่งประกอบด้วย ใบ ดอก ผล กิ่ง
ลำต้น จะทำหน้าที่ในการผลิตสังเคราะห์อาหารสะสมโดยขึ้นกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมในด้านอุณหภูมิ แสง
ซึ่งมีผลต่อกระบวนการต่าง ๆ อย่างมาก เช่น มีการคายน้ำ การหายใจ และความสามารถของการนำธาตุอาหารมาใช้ ซึ่งหากบริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นถูกทำลายก็จะทำให้ไปลดพื้นที่ในการสร้างอาหาร ซึ่งมีส่วนสีเขียวของคลอโรฟิลล์ที่อยู่บนต้นที่สามารถสังเคราะห์แสง สร้างอาหารได้แล้วนำอาหารที่สร้างส่วนบนไปใช้ทั้งต้นรวมทั้งส่วนราก ซึ่งถ้าหากรากมีการได้รับอาหารน้อยการพัฒนาของรากในการดูดหาอาหารก็จะลดน้อยลงไปด้วย และเช่นเดียวกันหากส่วนใบหรือด้านบนทำลายมาก ๆ จะทำให้รากขาดอาหารและตาย
หรือปริมาณลดน้อยลงในขณะเดียวกันรากก็จะทำหน้าที่ดูดลำเลียงแร่ธาตุและน้ำเป็นวัตถุดิบ ให้ส่วนข้างบนนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป หากมีการตัดรากหรือรากเกิดเน่าเสีย ทำให้การดูดน้ำและแร่ธาตุไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่ส่งไปยังส่วนใบหรือข้างบน ทำให้ใบพืชมีการร่วงเหี่ยวและผลผลิตลดลง โดยสภาพทั่วไปแล้วเมื่อต้นพืชมีการแตกยอดอ่อน ระบบรากจะมีการชะลอการเจริญเติบโตเมื่อใบเริ่มแก่ สามารถสร้างอาหารส่งมาให้รากมีการพัฒนาและเจริญเติบโต ดังนั้น หากเข้าใจทั้ง 2 ส่วนที่สัมพันธ์ต่อกันเราสามารถผลิตพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเราจะต้องพิจารณาแต่ละส่วนของต้นพืชเพื่อมาจัดการให้เหมาะสมต่อการพัฒนาของต้นพืชได้ ดังนี้


การจัดการบริเวณส่วนต้นพืช

1. การควบคุมอุณหภูมิบริเวณส่วนใบจะต้องควบคุมให้เหมาะสม เพราะอุณหภูมิหากร้อนเกินไปทำให้ต้นพืชมีความเสียหายได้ แต่อย่างไรก็ตามอุณหภูมิที่สูงทำให้มีการดูดธาตุอาหารดีขึ้น

2. การควบคุมระดับแสงที่เหมาะสมต่อการเติบโตของพืชเนื่องจากแสงมีความจำเป็นในกระบวนการสังเคราะห์แสงอาจใช้แสงจากหลอดไฟ ที่มีระดับความเข้มของแสงเพียงพอในการใช้ การสังเคราะห์แสง ซึ่งในปัจจุบันได้ผลิตหลอดไฟที่มีขนาด 400-1000 watt ชนิด Methal halide และ High pressure sodium ซึ่งมีความสว่างตั้งแต่ช่วง 50,000 – 130,000 Lumens โดยแสงที่ส่องมาจะต้องไม่ไปทำให้เกิดความร้อนจนเกิดความเสียหายของพืชจึงได้มีการผลิตพิเศษเรียกว่า Horticulture Lighting System(HLS) กรณีถ้าความเข้มของปริมาณแสงไม่เพียงพอก็ทำให้ต้นพืชไม่เจริญเติบโต หรือโตช้าหรือมีการยืดของต้นพืช สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศเมืองร้อน ที่ได้รบแสงจากธรรมชาติเพียงพออยู่แล้วถ้าปลูกในสภาพกลางแจ้งไม่มีเงาของอาคารสูงบดบัง
3. การล้างความสมดุลโดยลดการคายน้ำของพืช โดยการเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศโดยอาจติดหัวพ่นละอองฟองของน้ำ
4. การเพิ่มประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงและการลดการหายใจโดยสร้างสภาพบรรยากาศควบคุมปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนให้เหมาะสม ซึ่งหากสามารถควบคุมได้โดยเฉพาะในการปลูกพืชในโรงเรือน